และรู้วิธีการดำเนินการของบริษัทเหล่านั้น ในบทความนี้ เราจะพิจารณาเฉพาะบริษัทยักษ์ใหญ่บริษัทเหล่านี้เป็นบริษัทที่มีการเทรดมากที่สุดในโลก ดังนั้นหากรู้ข้อมูลเอาไว้ก็สามารถช่วยสร้างโอกาสให้เราในฐานะนักเทรดได้
ในบทความนี้ เราจะเรียนรู้เรื่อง:
บริษัทยักษ์ใหญ่หมายถึงอะไร
มีหลายวิธีการที่สามารถใช้คาดการณ์ขนาดของบริษัท ตั้งแต่รายได้จากการขายไปจนถึงกำไร หรือแม้แต่จำนวนของพนักงานหรือส่วนแบ่งการตลาด สำหรับวัตถุประสงค์ของบทความนี้ เราจะใช้มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดเป็นหน่วยวัด นี่คือมูลค่าตลาดของหุ้นที่ชำระแล้วของบริษัทมหาชน ซึ่งจะคำนวณจากจำนวนหุ้นที่ชำระแล้วคูณด้วยราคาหุ้น มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดแสดงให้เห็นมูลค่าหุ้นทุนของบริษัทและสามารถใช้เป็มาตรวัดความเห็นของสาธารณะที่มีต่อมูลค่าของบริษัท
10 อันดับบริษัทยักษ์ใหญ่สิบแห่งที่มีสัญชาติสหรัฐ
อันดับ | บริษัท | มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (พันล้านดอลลาร์)* |
---|---|---|
1 | แอปเปิล | 2224 |
2 | ไมโครซอฟท์ | 1918 |
3 | อัลฟาเบท (กูเกิล) | 1477 |
4 | แอมะซอน | 1092 |
5 | เทสลา | 723 |
6 | เบิร์กเชียร์ ฮาธาเวย์ | 604 |
7 | ยูไนเต็ดเฮลท์ | 477 |
8 | จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน | 466 |
9 | เมตา แพลตฟอมส์ (เฟซบุ๊ก) | 435 |
10 | วีซ่า | 419 |
*จากข้อมูลของ CompaniesMarketCap.com, ณ วันที่ 29/06/2002
คุณคงรู้จักบริษัทส่วนใหญ่ในรายการนี้และคงมีโอกาสได้กินหรือใช้สินค้าและบริการของพวกเขา เราจะเห็นได้ว่ามีสี่บริษัทในรายการนี้ที่มีค่าสูงกว่าล้านล้านดอลลาร์และบริษัททั้งหมดมีค่ามากกว่า 400 พันล้านดอลลาร์ โดยเห็นได้ชัดว่าในรายการนี้มักเป็นบริษัทเทคโนโลยี การเงินและธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
1. แอปเปิล (AAPL)
อันดับหนึ่งในรายการของเราคือแอปเปิลซึ่งเป็นบริษัทเดียวในสหรัฐที่มีมูลค่าตลาดมากกว่าสองล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างที่คุณคงทราบ แอปเปิลเป็นบริษัทพัฒนาฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ริเริ่มและพัฒนาเทคโนโลยีและระบบปฏิบัติการมากมาย โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีเพื่อผู้บริโภคอย่างสมาร์ทโฟนและคอมพิวเตอร์
แอปเปิลก่อตั้งในปี 1976 โดยสตีฟ จอบส์ สตีฟ วอซเนียกและโรนัลด์ เวย์น โดยเข้าตลาดหุ้นในปี 1980 และประสบความสำเร็จจากการพัฒนาและผลิตคอมพิวเตอร์รุ่นแรกๆ ของบริษัท ในปี 1985 การแย่งชิงอำนาจระหว่างผู้บริหารทำให้วอซเนียกถอนตัว ส่วนจอบส์ลาออกมาก่อตั้งเน็กซ์ เหตุการณ์นี้ทำให้แอปเปิลเผชิญกับช่วงเวลายากในช่วงปี 1990 เพราะพวกเขาเสียส่วนแบ่งตลาดให้กับไมโครซอฟท์จนเกือบล้มละลายในปี 1997 ซึ่งเป็นปีที่พวกเขาตัดสินใจซื้อเน็กซ์และพาจอบส์กลับมา ตลอดหลายสิบปีจากนั้น แอปเปิลเริ่มครองตลาด โดยเป็นเพราะนวัตกรรมของผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อย่างเช่นไอพอด ไอโฟนและไอแมค
แอปเปิลมักได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในแบรนด์ที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลก ซึ่งเป็นผลมาจากความภักดีที่ลูกค้ามีต่อแบรนด์ ด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง ใช้งานง่ายและมีระบบปฏิบัติการของตัวเอง หนึ่งในกลยุทธ์หลักของแอปเปิลที่ทำให้บริษัทเติบโตได้อย่างยั่งยืนขนาดนี้คือการซื้อบริษัทเทคโนโลยีเล็กๆ อย่างเช่น บีตส์อิเล็กทรอนิกส์ อะโนบิตเทคโนโลยี ไดอะล็อกเซมิคอนดักเตอร์ เน็กซ์และบริษัทอื่นๆ อีกหลายบริษัท นั่นทำให้แอปเปิลสามารถนำองค์ประกอบต่างๆ จากบริษัทเหล่านี้มารวมในสินค้าของพวกเขาได้
ซีอีโอของแอปเปิลคือทิม คุก ซึ่งมารับช่วงต่อจากสตีฟ จอบส์ในปี 2011 บริษัทมีพนักงานมากกว่า 154,000 คน ณ ปี 2021 และมีร้านค้าปลีก 519 ร้านทั่วโลก
2. ไมโครซอฟท์ (MSFT)
อีกหนึ่งยักษ์ใหญ่ในวงการเทคโนโลยี ไมโครซอฟท์เป็นบริษัทที่ใหญ่เป็นอันดับสองในสหรัฐ พวกเขาพัฒนาและให้บริการด้านซอฟต์แวร์และเทคโนโลยี อย่างเช่นระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์วินโดวส์ รวมทั้งระบบคลาวด์ เครื่องมือค้นหา บิง และแอปพลิเคชันอย่างเวิร์ด พวกเขายังสร้างเทคโนโลยีฮาร์ดแวร์อย่างคอมพิวเตอร์ส่วนตัว และผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภคอื่นๆ อีกด้วย ในไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ ไมโครซอฟท์ยังมองหาที่จะลงทุนและพัฒนาตลาดในอนาคตที่เป็นไปได้อย่างเช่น เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม เทคโนโลยีความเป็นจริงผสมและด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
คู่แข่งหลักของพวกเขาก็คือแอปเปิลที่พูดถึงไปก่อนหน้านี้ ซึ่งพวกเขาเป็นคู่แข่งกันมาตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทได้ไม่นานจนถึงปัจจุบันนี้ เช่นเดียวกับแอปเปิล ไมโครซอฟท์ได้เข้าซื้อหลายบริษัทตลอดหลายปีที่ผ่านมาเพื่อขยายบริษัทของพวกเขา ไมโครซอฟท์มักจะใช้วิธีที่ต่างออกไปนิดหน่อย พวกเขาซื้อบริษัทที่มีมูลค่ามากกว่า อย่างเช่นลิงค์อินและสไกป์ เทคโนโลยี บริษัทเหล่านี้ที่ไมโครซอฟท์เข้าบริหารแทนยังอยู่ในตลาดเดิม ต่างจากแอปเปิลที่นำบริษัทเหล่านั้นมารวมในสายผลิตภัณฑ์ของตัวเอง
สำนักงานใหญ่ของไมโครซอฟท์ในปัจจุบันตั้งอยู่ที่เรดมอนด์ วอชิงตันในสหรัฐ บริษัทก่อตั้งขึ้นในปี 1975 โดยบิล เกตส์และพอล อัลเลน สตีฟ บอลเมอร์เข้ามาเป็นซีอีโอคนใหม่ในปี 2000 และตั้งใจที่จะขยายบริษัทด้วยกลยุทธ์ “อุปกรณ์และบริการ” โดยพวกเขาสร้างคอมพิวเตอร์ส่วนตัวเครื่องแรกในปี 2012 และซื้อแผนกอุปกรณ์และการบริการของโนเกียมาผลิตโทรศัพท์มือถือเครื่องแรกของบริษัท
3. อัลฟาเบท (GOOG)
อัลฟาเบท อิงก์ หรือที่ในอดีตคือบริษัทกูเกิลจำกัด เป็นอันดับที่สามในรายการของเรา บริษัทก่อตั้งขึ้นในปี 1988 เป็นบริษัทเครื่องมือค้นหาธรรมดาๆ และเข้าตลาดหุ้นในปี 2004 กูเกิลเปลี่ยนมุมมองที่ผู้คนมีต่อข้อมูลและได้ครองตลาดเครื่องมือค้นหา ซึ่งตั้งแต่นั้นมาพวกเขาก็ขยายไปยังตลาดเทคโนโลยีอื่นๆ ด้วย
ในปี 2015 กูเกิลเปลี่ยนโครงสร้างเป็นอัลฟาเบท กลุ่มบริษัทเทคโนโลยี และกลายเป็นบริษัทแม่ซึ่งรวมกิจการและสายผลิตภัณฑ์ที่ขยับขยายเอาไว้ด้วยกัน แลร์รี เพจ ซีอีโอในตอนนั้นกล่าวว่า เป้าหมายก็คือการพัฒนา “ความโปร่งใสและการมองข้ามข้” ในการทำงานของบริษัท
กูเกิลควบคุมดูแลแพลตฟอร์มและบริการดิจิทัลหลายอย่าง โดยมีเครื่องมือค้นหาเป็นสิ่งที่โดดเด่นที่สุด แต่พวกเขายังมีเบราว์เซอร์อินเทอร์เน็ตโครม ยูทูป แอนดรอยด์ จีเมลและบริการอินเทอร์เน็ตอื่นๆ มากมาย อัลฟาเบทมีแผนก Other Bets ซึ่งประกอบด้วยธุรกิจระยะเริ่มต้น ซึ่งส่วนใหญ่มีรายได้จากการบริการเทคโนโลยีบางรูปแบบ พวกเขายังมองหาช่องทางลงทุนในอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโตอีกด้วย โดยลงทุนจำนวนมากกับรถยนต์ไร้คนขับของเวย์โม และระบบคลาวด์เกมมิ่งสตาเดีย
4. แอมะซอน (AMZN)
บริษัทที่ใหญ่เป็นอันดับสี่ในสหรัฐคือแอมะซอน ตอนที่เจฟฟ์ เบโซสก่อตั้งบริษัทในปี 1994 แอมะซอนเป็นตลาดออนไลน์ที่มีไว้ขายหนังสือเท่านั้น หลายปีผ่านมานับแต่นั้น ธุรกิจมีการขยายตัวอย่างมาก ไม่เพียงแค่ขนาด แต่ที่สำคัญคือความหลากหลายของสินค้าก็ขยายไปด้วย ในปัจจุบัน แอมะซอนเป็นบริษัทผู้นำระดับโลกในด้านอีคอมเมิร์ซ ที่ตลาดออนไลน์นั้นมีสินค้าหลากหลายตั้งแต่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ไปจนถึงเสื้อผ้า หรือแม้แต่อาหารและเฟอร์นิเจอร์ โดยส่วนใหญ่แล้วสินค้านั้นมาจากผู้ขายอื่น
ไม่นานมานี้ แอมะซอนได้ขยายตัวต่อไปเพื่อเป็นผู้เล่นหลักในการประมวลผลผ่านระบบโดยให้บริการออนไลน์แก่ลูกค้ามากมาย อย่างเช่นบริการสตรีมมิ่งและบริการเพลงสำหรับสมาชิก และยังลงทุนในด้านปัญญาประดิษฐ์อีกด้วย แอมะซอนได้เปลี่ยนแปลงวิธีการซื้อสินค้าของผู้บริโภคไปอย่างและตอนนี้พวกเขาคือผู้ค้าปลีกที่ใหญ่ที่สุดในโลก หากไม่นับประเทศจีน
สำนักงานใหญ่แอมะซอนตั้งอยู่ในซีแอตเทิล วอชิงตัน มีซีอีโอแอนดี แจสซี่บริหารบริษัทมาตั้งแต่เขารับหน้าที่ต่อจากผู้ก่อตั้งอย่างเบโซสในปี 2021
5. เทสลา (TSLA)
อันดับที่ห้าในรายการของเราและผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดในโลกตามมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดคือเทสลา บริษัทก่อตั้งขึ้นในปี 2003 โดยมาร์ค ทาร์เพนนิงและมาร์ติน เอเบอร์ฮาร์ด อีลอน มัสก์เข้ามาลงทุนในบริษัทและกลายเป็นประธานบริษัทหนึ่งปีหลังจากนั้น ชื่อของเทสลามาจากนักฟิสิกส์ นิโคลา เทสลา และบริษัทเข้าตลาดหุ้นในปี 2010 โดยมีมัสก์เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดมาจนถึงปัจจุบัน
แต่เดิมแล้ว เทสลาเป็นผู้ผลิตยานยนต์อิเล็กทรอนิกส์เต็มตัว แต่ภายใต้การนำของมัสก์ พวกเขาได้ขยับไปทำตลาดที่เกี่ยวข้องด้วย อย่างเช่นบริการด้านยานยนต์และสถานีชาร์จรถ ไม่นานมานี้ บริษัทได้เป็นแนวหน้าในการพัฒนาและคิดค้นระบบกักเก็บพลังงานและผลิตภัณฑ์สร้างพลังงานขั้นสูง โดยมีผลิตภัณฑ์อย่างแผงโซลาร์และกระเบื้องหลังคาโซลาร์ซึ่งใช้ได้ตั้งแต่บ้านไปจนถึงระบบโครงข่ายไฟฟ้า ซึ่งความก้าวหน้านี้อาจถูกนำมาใช้กับเทคโนโลยีหลายๆ อย่างในอนาคต
มัสก์กล่าวว่าเป้าหมายของเทสลาคือช่วยอำนวยความสะดวกในการย้ายไปสู่การขนส่งและพลังงานที่ยั่งยืนได้เร็วขึ้นด้วยรถยนต์ไฟฟ้าและพลังงานแสงอาทิตย์ ธุรกิจกำลังขยายตัวโดยมียอดขายเพิ่มขึ้นถึง 87 เปอร์เซ็นต์ในปี 2021
6. เบิร์กเชียร์ ฮาธาเวย์ (BRK-B)
อันดับที่หกคือเบิร์กเชียร์ ฮาธาเวย์ ซึ่งแตกต่างจากบริษัทอื่นๆ ที่คุณเห็นในรายการของเรา เพราะบริษัทนี้เป็นบริษัทโฮลดิ้งกลุ่มบริษัทข้ามชาติ หมายความว่าธุรกิจหลักของพวกเขาคือการถือหุ้นส่วนใหญ่ในหลักทรัพย์ของบริษัทอื่นๆ ซึ่งมีอยู่ในอุตสาหกรรมต่างๆ ทั่วประเทศ
บริษัทนี้ก่อตั้งขึ้นในปี 1839 แต่โด่งดังขึ้นจากการลงทุนอย่างชาญฉลาดของวอร์เรน บัฟเฟตต์ ซึ่งเข้าซื้อบริษัทเมื่อห้าสิบปีก่อน เขาเปลี่ยนให้เบิร์กเชียร์ ฮาธาเวย์เป็นบริษัทโฮลดิ้งโดยเปลี่ยนเส้นทางกระแสเงินสดจากธุรกิจหลักไปลงทุนกับธุรกิจอื่นๆ แทน โดยตอนต้นเขาซื้อธุรกิจที่ประสบปัญหา ช่วยพลิกสถานการณ์บริษัท และยังคงมีบทบาทสำคัญในฐานะประธานและซีอีโอของบริษัทมาจนถึงทุกวันนี้
ในปี 2022 เบิร์กเชียร์ ฮาธาเวย์เป็นเจ้าของเดียวของธุรกิจใหญ่ๆ มากมายเช่น ไกโค ฟรุตออฟเดอะลูม แดรี่ควีน ดูราเซลล์และบริษัทอื่นๆ อีกมากมาย บริษัทยังถือหุ้นส่วนน้อยที่มีนัยสำคัญ เช่น บริษัทโคคา-โคลา (9.32%) อเมริกัน เอ็กซ์เพรส (18.8%) แบงก์ออฟอเมริกา (11.9%) แอปเปิล (5.56%) และบริษัทคราฟต์ไฮนซ์ (26.7%)
7. ยูไนเต็ดเฮลท์ (UNH)
ยูไนเต็ดเฮลท์กรุ๊ปเป็นอันดับเจ็ดในรายการของเรา บริษัทนี้เป็นบริษัทประกันภัยสุขภาพ จุดประสงค์ของบริษัทคือมอบการรักษาพยาบาลที่ราคาย่อมเยาและคุณภาพสูงให้กับลูกค้า
บริษัทก่อตั้งในชื่อชาร์เตอร์ เม็ด อินคอร์เปอร์เรเต็ดในปี 1974 โดยริชาร์ด เทย์เลอร์ เบิร์กและปรับองค์กรเป็นยูไนเต็ดเฮลท์แคร์คอร์เปอเรชั่นในปี 1977 ในปัจจุบันเป็นบริษัทด้านการดูแลสุขภาพที่ใหญ่ที่สุดในโลกในแง่ของรายได้ ซึ่งมาจากเบี้ยประกันของผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงรวมถึงการขายผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพ ค่าบริการและการลงทุน
ยูไนเต็ดเฮลท์กรุ๊ปมีลูกค้ามากกว่า 130 ล้านคนทั่วโลก และมีพนักงานมากกว่า 300,000 คน
8. จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน (JNJ)
อันดับที่แปดในรายการของเราคือบริษัทเภสัชกรรม จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน พวกเขาจัดหาและพัฒนาอุปกรณ์ทางการแพทย์ ผลิตภัณฑ์สำหรับผู้บริโภค และเภสัชกรรมในกว่า 175 ประเทศ บริษัทก่อตั้งขึ้นในปี 1886 และตั้งอยู่ในนิวเจอร์ซีย์ ปัจจุบันมีบริษัทในเครือ 250 บริษัทที่ดำเนินงานภายใต้บริษัทแม่ บริษัทเหล่านี้มีสินค้าสุขภาพที่เป็นที่รู้จักมากมาย เช่น พลาสเตอร์ปิดแผลแบนด์เอด ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กจอห์นสัน ยาไทลินอล ลิสเตอรีนและผลิตภัณฑ์สำหรับผู้บริโภคและมืออาชีพอีกมากมาย
จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสันโดดเด่นมากๆ ในไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ เพราะเป็นหนึ่งในบริษัทหลักๆ ที่จัดหาวัคซีนต้านโรคโควิด-19 ในสหรัฐ ในเดือนพฤศจิกายนปี 2021 บริษัทประกาศว่าจะแยกตัวเป็นสองบริษัท บริษัทหนึ่งจะมุ่งเน้นไปที่เทคโนโลยีเภสัชกรรมและการแพทย์ และอีกบริษัทจะมุ่งเน้นไปที่ผลิตภัณฑ์สำหรับผู้บริโภค
9. เมตา แพลตฟอมส์ (META)
ก่อนหน้านี้รู้จักกันในชื่อเฟซบุ๊ก บริษัทก่อตั้งขึ้นในปี 2004 โดยนักศึกษาสี่คนที่กำลังเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด หนึ่งในผู้ก่อตั้ง มาร์ก ซักเคอร์เบิร์กยังคงเป็นซีอีโอของบริษัทอยู่จนถึงตอนนี้ เมตาเป็นบริษัทสุดท้ายของห้าอันดับบริษัทเทคโนโลยีข้อมูลยักษ์ใหญ่ในสหรัฐ ซึ่งอีกสี่อันดับก็คือแอปเปิล ไมโครซอฟท์ อัลฟาเบทและแอมะซอนที่อยู่ด้านบนสุดในรายการของเรา ธุรกิจเฟซบุ๊กดั้งเดิมเป็นเครือข่ายโซเชียลมีเดียที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งจากนั้นได้มีการขยายตัวไปสร้างและซื้อแอปพลิเคชันเครือข่ายอื่นๆ เช่น อินสตาแกรม วอตส์แอปป์ และเมสเซนเจอร์
เป้าหมายหลักของแอปพลิเคชันเมตาคือเป็นเครือข่ายโซเชียลมีเดียที่ใช้ปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและครอบครัวผ่านทางออนไลน์ แต่ทว่าในปัจจุบันนี้ เหล่าธุรกิจและองค์กรการเมืองมักจะใช้เพื่อให้เข้าถึงเป้าหมายจำนวนมาก บริษัทพึ่งพาการโฆษณา โดย 97.5 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ในปี 2021 ได้มาจากการโฆษณา
10. วีซ่า (V)
อันดับสุดท้ายของเราคือบริษัทบริการด้านการเงิน วีซ่า ธุรกิจหลักของพวกเขาคือการจัดหาทุนให้บุคคลทั่วไปทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านบัตรเดบิต เครดิตและบัตรเติมเงินของพวกเขาเอง วีซ่าแตกต่างตรงที่พวกเขาไม่ได้เป็นคนทำบัตร ตั้งอัตราการเงิน หรือขยายเครดิตให้กับผู้บริโภค พวกเขาเลือกมอบผลิตภัณฑ์การชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ให้กับสถาบันทางการเงินแทน ซึ่งสถาบันทางการเงินจะใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้เสนอโปรแกรมบัตรเดบิต เครดิตหรือบัตรเติมเงินให้กับผู้บริโภค โดยกำหนดอัตราดอกเบี้ยและเครดิต
แต่เดิมแล้ววีซ่าเปิดตัวในฐานะแบงก์อเมริการ์ดโดยแบงก์ออฟอเมริกาในปี 1958 ซึ่งเป็นโครงการบัตรเครดิตที่เปิดตัวขึ้นเพื่อตอบโต้คู่แข่งตลอดกาล มาสเตอร์ชาร์จ หรือที่ในปัจจุบันคือมาสเตอร์การ์ด ในปี 1970 แบงก์ออฟอเมริกายุติการควบคุมดูแลโครงการนี้ และจัดตั้งเป็นกิจการค้าร่วมกับธนาคารผู้ออกบัตรอื่นๆ โครงการนี้เปลี่ยนชื่อเป็นวีซ่าในปี 1976
เราหวังว่าคุณจะได้ความรู้เกี่ยวกับ 10 อันดับบริษัทยักษ์ใหญ่ในสหรัฐตามมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดไปมากขึ้น
ถ้าคุณชอบบทความนี้ คุณอาจอยากอ่านบทความ คู่มือนักเทรด 10 อันดับเศรษฐกิจของประเทศทั่วโลกตามค่า GDPของเราด้วย