CFDs are complex instruments and come with a high risk of losing money rapidly due to leverage. 66% of retail investor accounts lose money when trading CFDs with this provider.

You should consider whether you understand how CFDs work and whether you can afford to take the high risk of losing your money.

Please be advised that our Client Portal is scheduled for essential maintenance this weekend from market close Friday 16th February, 2024, and should be back up and running before markets open on Sunday 18th February, 2024.

เรายินดีที่จะแจ้งให้ทราบว่าเรากำลังเตรียมพร้อมสำหรับการอัปเดต Client Portal เพื่อมุ่งเน้นที่จะปรับปรุงประสบการณ์ของคุณกับเรา
Client Portal จะไม่พร้อมให้คุณใช้งานตั้งแต่ตลาดปิดใน วันศุกร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2567 และควรสำรองข้อมูลและทำงานก่อนตลาดเปิดให้บริการใน วันอาทิตย์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2567

CFDs are complex instruments and come with a high risk of losing money rapidly due to leverage. 66% of retail investor accounts lose money when trading CFDs with this provider.

You should consider whether you understand how CFDs work and whether you can afford to take the high risk of losing your money.

Search
Close this search box.

อัตราเงินเฟ้อ

อัตราเงินเฟ้อสามารถลดค่าของสกุลเงินได้อย่างรวดเร็วเมื่อราคาที่เพิ่มขึ้นสำหรับสินค้าอุปโภคบริโภคทำให้หน่วยของสกุลเงินของประเทศมีค่าน้อยลง การควบคุมระดับเงินเฟ้อเป็นงานของนายธนาคารกลาง เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้เกิดสิ่งนี้

อัตราเงินเฟ้อส่งผลต่อตลาดเงินอย่างไร

ระดับอัตราเงินเฟ้อเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่สุดที่มีบทบาทในการกำหนดความแข็งค่าของสกุลเงิน เพราะอัตราเงินเฟ้อมีผลกระทบโดยตรงต่อนโยบายการเงินของธนาคารกลาง การที่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นจะกดดันให้ธนาคารกลางพิจารณาใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นโดยขึ้นอัตราดอกเบี้ย เนื่องจาก
  • อัตราเงินเฟ้อที่ต่ำเกินไปจะทำให้เศรษฐกิจเสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะชะลอตัว
  • อัตราเงินเฟ้อที่สูงเกินไปจะลดทอนมูลค่าเงินที่แท้จริงในระบบเศรษฐกิจ
ธนาคารกลางมีวัตถุประสงค์ที่จะใช้นโยบายการเงินเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้อยูในระดับต่ำและไม่ผันผวน โดยมักเป็นอำนาจหน้าที่หลักของบรรดาธนาคารกลาง
กรอบข้อความ: ภาวะเงินเฟ้อ ภาวะเงินเฟ้อลดลงและภาวะเงินฝืด
  • ภาวะเงินเฟ้อ – คือการที่ระดับราคาทั่วไปจะเพิ่มขึ้นตั้งแต่ระยะเวลาหนึ่งถึงระยะเวลาถัดไป ซึ่งโดยปกติมักจะวัดเป็นรายปี
  • ภาวะเงินเฟ้อลดลง – คือการที่ยังมีภาวะเงินเฟ้อในเศรษฐกิจแต่ระดับเงินเฟ้อกำลังลดลง โดยระดับราคาทั่วไปจะยังคงเพิ่มขึ้นตั้งแต่ระยะเวลาหนึ่งถึงระยะเวลาถัดไปแต่จะอยู่ในระดับต่ำลง ตัวอย่างเช่น เศรษฐกิจที่กำลังอยู่ในภาวะเงินเฟ้อซึ่งก่อนหน้านี้เงินเฟ้ออยู่ที่ระดับ 2.0% จากนั้นก็ลดลงมาเป็น 1.5% แล้วตกลงมาที่ 1.0% ในภายหลังจะกำลังเผชิญกับช่วงเวลาที่ภาวะเงินเฟ้อต่ำลงหรือภาวะเงินเฟ้อลดลง
  • ภาวะเงินฝืด – คือการที่อัตราเงินเฟ้อติดลบ โดยระดับราคาทั่วไปจะปรับตัวลดลงตั้งแต่ระยะเวลาหนึ่งถึงระยะเวลาถัดไป ซึ่งถือเป็นผลเสียต่อเศรษฐกิจ สิ่งที่น่ากังวลก็คือเมื่อผู้บริโภคยอมรับว่าภาวะเงินฝืดกำลังเกิดขึ้น จะทำให้การใช้จ่ายชะลอตัวลงเพราะเชื่อว่าราคาสินค้าจะต่ำลงอีกในอนาคต

เหตุใดอัตราเงินเฟ้อจึงสำคัญ

ธนาคารกลางจะพิจารณาอัตราเงินเฟ้อและใช้เป็นเกณฑ์หลักในการดำเนินนโยบายการเงิน ธนาคารกลางที่เห็นว่าอัตราเงินเฟ้อกำลังเพิ่มขึ้นจะระมัดระวังว่าอาจต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อควบคุมราคาสินค้า การที่อัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นจะทำให้การกู้ยืมมีค่าใช้จ่ายมากขึ้น จึงช่วยยับยั้งอุปสงค์ในระบบเศรษฐกิจ จากนั้น การที่อุปสงค์ลดลงจะเริ่มสร้างแรงกดดันในเชิงลบต่อระดับราคาสินค้าทั่วไปและทำให้อัตราเงินเฟ้อกลับสู่ระดับปานกลางอีกครั้ง

ดังนั้น อัตราเงินเฟ้อจึงมีผลกระทบโดยตรงต่อนโยบายการเงิน ตัวอย่างเช่น ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) มี “หน้าที่สำคัญสองประการ” ตามที่กฎหมาย Federal Reserve Act ปี 1977 บัญญัติไว้

หนึ่งในหน้าที่สำคัญสองประการก็คือการส่งเสริมเสถียรภาพทางราคาและอีกหนึ่งหน้าที่จะเกี่ยวกับการดูแลอัตราการว่างงานให้อยู่ในระดับต่ำ ทั้งนี้ เฟดได้ตั้งเป้าอัตราเงินเฟ้อไว้ที่ 2% ซึ่งได้รับอำนาจในการดำเนินการให้บรรลุเป้าดังกล่าว นอกจากนี้ ธนาคารกลางอังกฤษก็ตั้งเป้าดัชนีราคาผู้บริโภคไว้ที่ 2% ขณะที่ธนาคารกลางยุโรปมีหน้าที่ดูแลอัตราเงินเฟ้อให้ “ต่ำกว่า 2% เพียงเล็กน้อย”

การประกาศข้อมูลอัตราเงินเฟ้อต่างๆ

มีการประกาศข้อมูลเศรษฐกิจหลายตัวตลอดเดือนซึ่งจะสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อแก่คุณ การที่ข้อมูลชี้วัดเหล่านี้ปรับตัวเพิ่มขึ้นมีแนวโน้มที่จะส่งผลบวกต่อค่าเงินของประเทศ แต่จะส่งผลลบต่อราคาตราสารหนี้ ทั้งนี้ ข้อมูลสำคัญที่จะต้องติดตามได้แก่

ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)

ข้อมูลชี้วัดตัวนี้เป็นเกณฑ์วัดอัตราเงินเฟ้อในนานาประเทศที่ได้รับการยอมรับและจะส่งผลกระทบต่อตราสารหนี้และค่าเงินของประเทศเป็นอย่างมาก CPI ที่เป็นข้อมูลดิบจะรวมราคาอาหารและพลังงานที่มีความผันผวน ดังนั้น CPI พื้นฐานจึงมักเป็นเกณฑ์วัดอัตราเงินเฟ้อที่ดีกว่าเนื่องจากจะเจาะลึกและปรับสำหรับปัจจัยที่ผันผวน หาก CPI ที่เป็นข้อมูลดิบยังคงอยู่ในระดับต่ำ ขณะที่ CPI พื้นฐานกำลังเพิ่มขึ้น ก็จะส่งผลต่อตลาด เงิน และตราสารหนี้ คุณควรติดตามดูตัวเลขทั้งคู่และให้ความสนใจข้อมูลที่เทียบช่วงเดียวกันของปีนี้กับปีก่อนหน้าเป็นหลัก

รายจ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE)

PCE เป็นข้อมูลชี้วัดของสหรัฐฯ และเป็นวิธีประเมินอัตราเงินเฟ้อที่เฟดนิยมใช้ เพราะการใช้จ่ายของผู้บริโภคคิดเป็น 70% ของมูลค่าการใช้จ่ายขั้นสุดท้ายในสหรัฐฯ

ค่าเฉลี่ยการเติบโตของรายได้

ข้อมูลชี้วัดนี้จะแสดงว่าค่าจ้างแรงงานกำลังเติบโตมากเพียงใด ค่าเฉลี่ยการเติบโตของรายได้เป็นองค์ประกอบสำคัญในภาวะเศรษฐกิจของประเทศตามหลักการที่ว่าการเติบโตของค่าจ้างแรงงานเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดคุณภาพชีวิต หากการเติบโตของรายได้ (ตามที่เรียกกัน) สูงกว่า CPI อย่างต่อเนื่อง ค่าจ้างแรงงานตามจริงจะปรับตัวเพิ่มขึ้น ดังนั้น คุณภาพชีวิตของผู้คนก็จะดีขึ้นในภาพรวม

ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI)

หรือที่เรียกว่า “อัตราเงินเฟ้อหน้าโรงงาน” จะวัดการเปลี่ยนแปลงของราคาขายที่ผู้ผลิตสินค้าและบริการภายในประเทศได้รับ ทฤษฎีบ่งชี้ว่าผู้ค้าปลีกจะผลักภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นให้ผู้บริโภค ดังนั้นจึงมีการใช้ PPI เพื่อประมาณการ CPI

ดัชนีอัตราค่าจ้างแรงงาน (ECI)

ข้อมูลที่ประกาศรายไตรมาสจะให้การประเมินค่าจ้างแรงงานของลูกจ้างสหรัฐฯ ในวงกว้าง โดยค่าจ้างแรงงานและเงินเดือนจะคิดเป็น 70% ของค่าจ้างแรงงานทั้งหมด นอกจากนี้ ECI ยังเป็นการประเมินความสามารถในตลาดแรงงาน รวมทั้งบ่งชี้ถึงการเติบโตของรายได้และอัตราเงินเฟ้อ

ผลกระทบที่อัตราเงินเฟ้อมีต่อตลาดเงิน

ตลาดตราสารหนี้ มีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราเงินเฟ้ออย่างมากเนื่องจากผลกระทบที่อาจมีต่อนโยบายการเงินและการคาดการณ์เกี่ยวกับนโยบายการเงินในอนาคต หากตลาดตราสารหนี้คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้น (และคาดว่าอัตราดอกเบี้ยจะปรับขึ้นในภายหลัง) ตราสารหนี้จะอยู่ภายใต้แรงกดดันในการขาย ซึ่งจะดันให้ราคาตราสารหนี้ปรับตัวลดลง หมายความว่าผลตอบแทนจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากลักษณะที่ให้รายได้คงที่

ตลาดเงิน จะปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในไม่ช้าเช่นกันเนื่องจากมีความเชื่อมโยงกับนโยบายการเงินอย่างใกล้ชิด ซึ่งอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นจะเพิ่มความน่าจะเป็นที่ธนาคารกลางจะขึ้นอัตราดอกเบี้ย ผลที่ตามมาก็คืออุปสงค์สกุลเงินของประเทศจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงการคาดการณ์อัตราดอกเบี้ย ส่งผลให้เกิด “การไหลของเงินร้อน” ดังนั้น ราคาค่าเงินของประเทศจะปรับตัวขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินของประเทศอื่นๆ

ส่วนความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอัตราเงินเฟ้อนั้นยังไม่แน่นอน เพราะมีปัจจัยหลายอย่างที่จะต้องพิจารณาโดยขึ้นอยู่กับขนาดการเปลี่ยนแปลง ทิศทางและระดับอัตราเงินเฟ้อ หากทุกอย่างเป็นไปตามคาด อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นจะทำให้อัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายด้านดอกเบี้ยของบริษัทต่างๆ จะเพิ่มขึ้นไปด้วย แม้บริษัทเหล่านี้จะต้องการภาวะที่อัตราดอกเบี้ยลดลงเนื่องจากค่าใช้จ่ายในการกู้ยืมจะถูกลง ในที่สุด อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นก็อาจส่งผลให้ราคาหุ้นปรับตัวลดลง

อย่างไรก็ตาม ในกรณีของตลาดเงิน จะไม่มีอะไรที่ชัดเจน

เปิดเมนูสืบค้นเนื้อหา
เปิดเมนูสืบค้นเนื้อหา

พร้อมเริ่มต้นเทรดหรือยัง

rotator.png

เรากำลังพาท่านไปสู่ Hantec Trader ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของเรา

โปรดทราบว่า Hantec Trader ไม่รองรับลูกค้าจากสหรัฐอเมริกาหรือประเทศที่ถูกจำกัดอื่นๆ

Line-website.png