สารบัญ
รูปแบบกราฟคืออะไร
การศึกษารูปแบบกราฟเป็นส่วนหนึ่งของการวิเคราะห์ทางเทคนิคซึ่งเกี่ยวกับรูปแบบที่เกิดจากการเคลื่อนไหวของราคาในกราฟเมื่อเวลาผ่านไป หรือที่เรียกว่ารูปแบบกราฟในการเทรด
รูปแบบเหล่านี้เกิดในตลาดและประเภทสินทรัพย์หลายรูปแบบเมื่อแนวโน้มตลาดหยุดลงและเข้าสู่ระยะรวมฐาน รูปแบบกราฟเป็นหนทางที่จะช่วยให้คุณตัดสินได้ว่าราคาจะดำเนินไปในทิศทางเดิมเหมือนกับแนวโน้มเดิมหลังจากระยะรวมฐาน หรือว่าเปลี่ยนทิศทาง คุณยังสามารถคาดการณ์เป้าหมายที่เป็นไปได้สำหรับการเคลื่อนไหวต่อไปจากรูปแบบได้อีกด้วย
คุณสามารถระบุรูปแบบกราฟได้ในหลายๆ กรอบเวลา ตั้งแต่กราฟหนึ่งนาที กราฟหนึ่งชั่วโมงและ 4 ชั่วโมง ไปถึงกราฟหนึ่งวัน หนึ่งสัปดาห์และแม้แต่หนึ่งเดือน ยิ่งไปกว่านั้น รูปแบบกราฟสามารถเกิดขึ้นได้ในสินทรัพย์ทุกประเภท ทั้งกราฟหุ้นรายตัว ดัชนีหุ้น ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ ตลาดตราสารหนี้และ รูปแบบกราฟ Forex นอกจากนี้ รูปแบบกราฟเกิดขึ้นมาตลอดในอดีต ดังนั้นจึงสามารถย้อนดูกราฟจากหลายสิบปีก่อน หรือแม้แต่หลายร้อยปีก่อนซึ่งสามารถระบุกราฟรูปแบบต่างๆ ได้
รูปแบบกราฟเหล่านี้เกิดในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน ในตลาดการเงินทุกรูปแบบและสามารถย้อนกลับไปดูในอดีตได้ คำถามต่อไปคือรูปแบบกราฟทำงานยังไง
รูปแบบกราฟทำงานยังไง
เหตุผลหลักที่ทำให้รูปแบบกราฟเป็นหนึ่งในวิธีวิเคราะห์ทางเทคนิคที่มีประสิทธิภาพมาจากหลักการพื้นฐานสองอย่างที่เกี่ยวข้องกับหลักการวิเคราะห์ทางเทคนิค
อย่างแรกคือหลักที่ว่าประวัติศาสตร์มักซ้ำรอย พฤติกรรมราคาที่เคยเกิดขึ้นในอดีตไม่ใช่ว่าจะเกิดขึ้นซ้ำในช่วงเวลาปัจจุบันเสมอไป แต่ก็เป็นไปได้ที่เราจะหาตำแหน่ง ระบุและอาจทำกำไรได้จากรูปแบบราคาหรือรูปแบบกราฟที่เกิดขึ้นในตลาดปัจจุบัน ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่ารูปแบบที่เกิดขึ้นแล้วจะเกิดขึ้นซ้ำอีก
หลักการการวิเคราะห์ทางเทคนิคอื่นๆ ที่รูปแบบต่างใช้อ้างอิงเกี่ยวข้องกับหลักการแรก (ประวัติศาสตร์มักซ้ำรอย) เหตุผลที่ประวัติศาสตร์มักซ้ำรอยเป็นเพราะมีสิ่งหนึ่งที่เหมือนเดิมอยู่เสมอไม่ว่าจะเวลาไหนในแง่มุมตลาดการเงิน นั่นคือปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ที่ขับเคลื่อนราคาตลาด ถึงแม้ว่าเศรษฐศาสตร์มหภาค ปัจจัยพื้นฐานและเหตุการณ์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นสิ่งที่ขับเคลื่อนพฤติกรรมราคา แต่ยังต้องอาศัยปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ ความคิด อารมณ์และพฤติกรรมของนักเทรดและผู้ลงทุนรายย่อยรวมกันเป็นกลุ่มในการทำให้ราคาตลาดขึ้นหรือลง
ดังนั้น รูปแบบกราฟที่ใช้วิเคราะห์ทางเทคนิคเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงอารมณ์ พฤติกรรมและจิตใจของมนุษย์ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นซ้ำเมื่อเวลาผ่านไป ดังนั้นจึงสามารถใช้การวิเคราะห์รูปแบบให้เป็นประโยชน์และนำไปคาดการณ์การเคลื่อนไหวของราคาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้
การทำความเข้าใจรูปแบบกราฟ
เพื่อให้เข้าใจรูปแบบกราฟได้อย่างถูกต้อง เราจำเป็นต้องเรียนรู้วิธีการแยกรูปแบบกราฟแบบต่างๆ และการส่งสัญญาณที่เป็นไปได้ว่าเอนเอียนไปทางขาขึ้นหรือขาลงในตลาดใดตลาดหนึ่ง แต่การเรียนรู้เรื่องรูปแบบกราฟนั้นยังไม่พอ เราต้องเข้าใจด้วยว่าทำไมถึงใช้รูปแบบนั้นได้ สิ่งสำคัญคือควรใส่ใจเหตุผลด้านจิตใจและพฤติกรรมที่รูปแบบกราฟในการเทรดใดๆ อาจเป็นรูปแบบขาขึ้นหรือขาลง ยิ่งไปกว่านั้น รูปแบบกราฟไม่ได้ให้แค่ข้อมูลความเอนเอียงในทิศทางกับนักวิเคราะห์หรือนักเทรดในตลาดที่ถูกวิเคราะห์หรือเทรด แต่ยังให้ข้อมูลเป้าหมายราคาที่เป็นไปได้จากรูปแบบกราฟเองด้วย
ทำไมรูปแบบกราฟถึงสำคัญ
รูปแบบกราฟสำคัญกับนักวิเคราะห์ทางเทคนิคและนักเทรดที่ใช้ข้อมูลทางเทคนิคเพราะว่าจะให้เค้าโครงที่ชัดเจนว่าควรตัดสินใจซื้อหรือขายในตลาดนั้นๆ อย่างไร นอกจากนั้น การวิเคราะห์รูปแบบกราฟทำให้สามารถสร้างการตั้งค่าการเทรดที่สามารถระบุราคาเป้าหมาย และจุดอ(ซึ่งคือการวางจุดตัดขาดทุน) ได้อีกด้วย
จากมุมมองของนักเทรดรายย่อย คุณสามารถเรียนรู้รูปแบบกราฟในการเทรดให้เหมือนมืออาชีพได้ ซึ่งหมายความว่านักเทรดรายย่อยก็สามารถมีความรู้เรื่องการวิเคราะห์ทางเทคนิค ระบุและใช้รูปแบบกราฟ และจำแนกประเภทรูปแบบกราฟได้ในระดับเดียวกับนักเทรดสถาบัน
รูปแบบกราฟนี้สามารถใช้ได้กับทั้งกราฟหุ้นรายตัว รูปแบบดัชนีหุ้น รูปแบบกราฟ Forex และสินทรัพย์ในตลาดการเงินหรือประเภทสินทรัพย์ต่างๆ มากมาย สิ่งที่จำเป็นคือตลาดจะต้องมีสภาพคล่องและจะต้องไม่ได้รับอิทธิพลจากฝั่งอุปสงค์หรืออุปทานก็ตาม
การรวมฐานในการเทรดคืออะไร
การรวมฐานในการเทรดคือตอนที่ตลาดไม่มีทิศทางที่แน่นอนในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในกรอบเวลา มากกว่าที่จะมีแนวโน้มไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง ไม่ว่าจะสูงขึ้นหรือต่ำลง ระยะรวมฐานเป็นช่วงเวลาที่ตลาดไม่มีแนวโน้ม หรืออยู่ในกรอบ หรือมีแนวโน้มไม่แน่นอนอยู่ระหว่าง ระดับแนวรับและแนวต้าน (หรือบริเวณนั้นๆ) รูปแบบกราฟส่วนใหญ่เกิดขึ้นหลังจากตลาดมีแนวโน้มขาขึ้น (กระทิง) หรือว่าขาลง (หมี) แล้วจากนั้นเข้าสู่ระยะรวมฐาน ตลาดมีแนวโน้มที่จะทะลุกรอบการรวมฐาน ไม่ว่าจะสูงขึ้นหรือต่ำลง ขึ้นอยู่กับลักษณะการรวมฐานและการเกิดรูปแบบกราฟ
ประเภทรูปแบบกราฟ
ตอนนี้เราได้เรียนรู้แล้วว่ารูปแบบกราฟคืออะไรและพื้นฐานวิธีการใช้ พร้อมกับภาษาที่ใช้ควบคู่ไปกับรูปแบบเหล่านี้ เราจะไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมเรื่องประเภทของรูปแบบและดูว่ารูปแบบกราฟใช้ทำอะไร เราทำรายการประเภทรูปแบบกราฟบางส่วนไว้ดังนี้:
- หัวและไหล่
- หัวและไหล่กลับด้าน
- ดับเบิลท็อป
- ดับเบิลบอททอม
- ทริปเปิลท็อป
- ทริปเปิลบอททอม
- จานหงาย
- ลิ่มชี้ขึ้น
- ลิ่มชี้ลง
- ชายธงหรือธง
- สามเหลี่ยมขาขึ้น
- สามเหลี่ยมขาลง
รูปแบบกราฟเหล่านี้อยู่ในกลุ่มรูปแบบไหน
รูปแบบกราฟในการเทรดหลักมีสามประเภท: รูปแบบกลับตัว รูปแบบกราฟต่อเนื่องและรูปแบบกราฟที่เป็นไปได้ทั้งสองทาง เราจะมาเรียนรู้ไปทีละรูปแบบเพื่อดูว่าจะใช้รูปแบบกราฟในการเทรดได้ยังไง
รูปแบบกราฟกลับตัว
รูปแบบกราฟกลับตัวคือรูปแบบกราฟที่เป็นที่รู้จักเมื่อเวลาผ่านไปเพื่อใช้บ่งชี้แนวโน้มขาขึ้น (ตลาดกระทิง) หรือแนวโน้มขาลง (ตลาดหมี) นั้นจบลงแล้ว และกราฟมีแนวโน้มที่จะกลับตัวไปอีกทิศทาง
ยกตัวอย่างเช่นถ้าตลาดอยู่ในขาขึ้นและจากนั้นเข้าสู่ระยะรวมฐาน เราก็จะใช้รูปแบบที่เราจดจำเอาไว้ระบุว่ารูปแบบนั้นเป็นรูปแบบกราฟที่มีโอกาสกลับตัว ซึ่งมันแสดงให้เห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่แนวโน้มขาขึ้นนั้นจะจบลงแล้ว ถ้าคุณถือสถานะซื้อ (ซื้อในตลาดไปแล้ว) คุณอาจพิจารณาออกจากสถานะซื้อ หรือเมื่อรูปแบบกราฟกลับตัวส่งสัญญาณปรับฐาน คุณอาจพิจารณาการถือสถานะขาย (ขาย) ได้
ในทางกลับกัน ถ้าเป็นแนวโน้มขาลงและตลาดเป็นรูปแบบกราฟกลับตัว ถ้าคุณถือสถานะขายอยู่ (ขายในตลาดไปแล้ว) คุณอาจพิจารณาออกจากสถานะขาย อีกทางเลือกก็คือคุณอาจพิจารณาเข้าถือสถานะซื้อ (ซื้อ)
กราฟสามารถมองเป็นรูปแบบดับเบิลท็อปได้ บ่งชี้ว่าขาขึ้นมีแนวโน้มจะหยุดลงและราคาน่าจะต่ำลงกว่าเดิม ในทางกลับกัน รูปแบบทริปเปิลบอททอมจะเกิดในแนวโน้มขาลง และบ่งชี้ว่าราคาอาจกลับตัวสูงขึ้น
รูปแบบกราฟต่อเนื่อง
รูปแบบกราฟต่อเนื่องคือเวลาที่ตลาดอยู่ในแนวโน้มขาขึ้นหรือขาลง จากนั้นก็เข้าสู่ระยะรวมฐาน เมื่อเราแยกประเภทรูปแบบได้ เราจะสามารถระบุรูปแบบกราฟต่อเนื่องซึ่งบ่งชี้ว่ามีความเป็นไปได้ที่ตลาดจะดำเนินไปต่อตามทิศทางแนวโน้มกระทิงหรือหมีที่เป็นอยู่ (ขาขึ้นหรือขาลงตามลำดับ) จากนั้นนักเทรดจะสร้างกลยุทธ์ตามความน่าจะเป็นของความต่อเนื่องของแนวโน้มนั้น เมื่อรูปแบบกราฟต่อเนื่องส่งสัญญาณที่เหมาะสมแล้ว
ยกตัวอย่างเช่น รูปแบบชายธงหรือธง คุณคงคาดการณ์ว่าราคาจะดำเนินไปตามทิศทางของแนวโน้มเดิม ซึ่งจะเกิดขึ้นหลังจากรูปแบบส่งสัญญาณว่าจบระยะรวมฐานแล้ว
รูปแบบกราฟที่เป็นไปได้ทั้งสองทาง
รูปแบบกราฟที่เป็นไปได้ทั้งสองทางคือกราฟที่อาจไปต่อในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง อาจเป็นทั้งรูปแบบกราฟกลับตัวและ/หรือรูปแบบกราฟต่อเนื่อง โดยจะขึ้นอยู่กับว่ากราฟมีรูปร่างยังไงและราคาทะลุออกจากกรอบแนวโน้มยังไง รูปแบบกราฟเหล่านี้มักจะไม่ชัดเจนนัก ถ้าเทียบกับรูปแบบกราฟกลับตัวและรูปแบบกราฟต่อเนื่อง โดยมีความเป็นไปได้ว่าจะทะลุสูงขึ้นหรือต่ำลงหลังจากจบระยะรวมฐาน
ด้านล่างเราจะเห็นว่ารูปแบบกราฟจัดอยู่ในกลุ่มไหน:
ชื่อรูปแบบกราฟ | กลุ่มรูปแบบกราฟ |
---|---|
หัวและไหล่ธรรมดา | กลับตัว |
หัวและไหล่กลับด้าน | กลับตัว |
ดับเบิลท็อป | กลับตัว |
ดับเบิลบอททอม | กลับตัว |
ทริปเปิลท็อป | กลับตัว |
ทริปเปิลบอททอม | กลับตัว |
จานหงาย | กลับตัว |
ลิ่มชี้ขึ้น | กลับตัวหรือต่อเนื่อง (เป็นไปได้ทั้งสองทาง) |
ลิ่มชี้ลง | กลับตัวหรือต่อเนื่อง (เป็นไปได้ทั้งสองทาง) |
ชายธงหรือธง | ต่อเนื่อง |
สามเหลี่ยมขาขึ้น | ต่อเนื่อง |
สามเหลี่ยมขาลง | ต่อเนื่อง |
รูปแบบกราฟแบบไหนที่ถูกใช้มากที่สุด
รูปแบบกราฟที่ใช้กันมากที่สุดได้แก่รูปแบบหัวและไหล่ ดับเบิลท็อปและดับเบิลบอททอม ทริปเปิลท็อปและทริปเปิลบอททอม รูปแบบจานหงาย รูปแบบลิ่ม รูปแบบชายธงหรือธง รูปแบบสามเหลี่ยมขาขึ้นและขาลงและกราฟแท่งเทียนที่แยกไปอีกประเภทหนึ่ง
เราแนะนำให้คุณทำความคุ้นเคยและเรียนรู้วิธีการแยกรูปแบบเหล่านี้เพื่อพัฒนาการเทรดของคุณ
รูปแบบหัวและไหล่
มีรูปแบบหัวและไหล่อยู่สองแบบ: หัวและไหล่ธรรมดาและหัวและไหล่กลับด้าน
หัวและไหล่ธรรมดา: รูปแบบนี้เกิดขึ้นที่จุดสูงสุดของขาขึ้น
- ตลาดอยู่ในช่วงขาขึ้นโดยราคาสูงขึ้นกว่าจุดสูงสุดเดิมและสูงขึ้นกว่าจุดต่ำสุด
- ตลาดย่อลงมาหลังจากขึ้นไปที่หัว จากนั้นก็ลงต่ำกว่าจุดสูงสุดเดิม ต่ำกว่ายอดของหัวซึ่งจะกลายเป็นไหล่ที่สอง
- ระหว่างจุดต่ำสุดทั้งสองข้างของจุดสูงสุดซึ่งคือหัว เราจะลากเส้นผ่านด้านล่างของหัว ซึ่งรู้จักกันในชื่อ “เส้นคอ”
- หลังจากไหล่ที่สอง ถ้าตลาดทะลุไปใต้ “เส้นคอ” จะเป็นการยืนยันว่าเป็นรูปแบบหัวและไหล่ธรรมดา
- เป้าหมายราคาที่เป็นไปได้ต่ำลงหรือราคาเป้าหมายขั้นต่ำ (MPO) คือระยะห่างในแนวตั้งจากยอดของหัวลงไปจนถึง “เส้นคอ” ระยะทางนี้ลากลงมาจากจุดที่ราคาทะลุ “เส้นคอ”
- บางครั้งคุณจะเห็นราคาดีดกลับขึ้นไปสูงขึ้นเพื่อทดสอบ “เส้นคอ” หรือที่เรียกว่า “การย้อนกลับ”
หัวและไหล่กลับด้าน: หัวและไหล่กลับด้านเป็นรูปแบบกลับบ้านจากรูปแบบหัวและไหล่ โดยรูปแบบนี้จะเกิดขึ้นในจุดต่ำสุดของขาลง เมื่อรูปแบบทะลุ “เส้นคอ” MPO จะสูงขึ้น
รูปแบบดับเบิลท็อปและดับเบิลบอททอม
ดับเบิลท็อป: เมื่อคุณมองหารูปแบบดับเบิลท็อป คุณต้องระบุแนวโน้มขาขึ้นให้ได้ก่อน
- ราคาจะสูงขึ้นและย่อตัวลงต่ำ
- จากนั้นราคาจะเด้งสูงขึ้นอีก ซึ่งอาจสูงเท่าหรือใกล้เคียงกับจุดที่สูงที่สุดก่อนหน้านี้
- จากนั้นราคาจะตกลงต่ำอีกครั้ง และถ้าราคาทะลุลงไประหว่างจุดสูงสุดสองจุด แสดงว่ารูปแบบดับเบิลท็อปสมบูรณ์แล้ว
- เป้าหมายราคาที่เป็นไปได้ต่ำลงไป (MPO) คือระยะห่างในแนวตั้งจากดับเบิลท็อปลงมาถึงจุดต่ำสุดระหว่างยอดทั้งสอง จากนั้นให้ลากลงไปต่ำกว่าจุดต่ำสุด
ดับเบิลบอททอม: ดับเบิลบอททอมคือรูปแบบที่ตรงกันข้ามกับดับเบิลท็อป ตลาดมีแนวโน้มขาลง จากนั้นเกิดจุดต่ำจุดสองจุดในราคาใกล้เคียงกัน ถ้าตลาดทะลุขึ้นมาสูงกว่าจุดต่ำสุดทั้งสอง จะเป็นการยืนยันรูปแบบดับเบิลบอททอม
รูปแบบทริปเปิลท็อปและทริปเปิลบอททอม
ทริปเปิลท็อป: ทริปเปิลท็อปมีผลแบบเดียวกับรูปแบบดับเบิลท็อป แต่ว่ามีจุดสูงสุดสามจุดที่ความสูงใกล้เคียงกัน รูปแบบนี้จะสมบูรณ์เมื่อราคาทะลุลงมาต่ำกว่าจุดต่ำสุดระหว่างยอดสามยอด
ทริปเปิลบอททอม: ทริปเปิลบอททอมเป็นรูปแบบตรงกันข้ามกับทริปเปิลท็อปและเหมือนกับดับเบิลบอททอม โดยจะมีจุดต่ำสุดสามจุดในระดับที่ใกล้เคียงกัน รูปแบบนี้จะสมบูรณ์เมื่อราคาทะลุสูงกว่าจุดที่สูงที่สุดระหว่างจุดต่ำสุดทั้งสาม
รูปแบบจานหงาย
รูปแบบจานหงายพบได้ตอนสิ้นสุดแนวโน้มขาลงและสามารถระบุได้จากชุดราคาต่ำสุดที่เป็นรูป “ตัวยู” จานหงายมักจะพบเมื่อสิ้นสุดแนวโน้มขาลงระยะยาวและส่งสัญญาณการกลับตัวของราคาในระยะยาว
รูปแบบลิ่ม
ลิ่มชี้ขึ้น (รูปแบบต่อเนื่อง): รูปแบบลิ่มชี้ขึ้นเกิดขึ้นเมื่อราคาตลาดสูงขึ้น แต่จุดต่ำสุดใหม่เคลื่อนที่สูงขึ้นในมุมที่ชันกว่าจุดสูงสุดใหม่ ทำให้เกิดเป็นรูปแบบลิ่มชี้ขึ้น เราคาดการณ์จากรูปแบบนี้ได้ว่าตลาดจะทะลุต่ำกว่าเส้นแนวโน้มด้านล่าง ส่งสัญญาณถึงการเคลื่อนไหวที่ต่ำลง ถ้าตลาดก่อนหน้านี้เป็นแนวโน้มขาลง แสดงว่านี่เป็นรูปแบบต่อเนื่อง
ลิ่มชี้ขึ้น (รูปแบบกลับตัว): เป็นรูปแบบลิ่มชี้ขึ้นเหมือนเดิม แต่เกิดขึ้นในแนวโน้มขาขึ้น รูปแบบลิ่มชี้ขึ้นส่งสัญญาณว่ามีโอกาสเคลื่อนตัวต่ำลงเมื่อราคาทะลุรูปแบบ ซึ่งจะเป็นการกลับตัวของแนวโน้มขาขึ้น
ลิ่มชี้ลง (รูปแบบต่อเนื่อง): ลิ่มชี้ลงเป็นรูปแบบตรงกันข้ามกับลิ่มชี้ขึ้น รูปแบบนี้จะเกิดขึ้นเมื่อตลาดเคลื่อนตัวต่ำลง โดยราคาต่ำลงกว่าจุดสูงสุดเดิมเคลื่อนตัวลงมาในมุมที่ชันกว่าจุดต่ำกว่าจุดต่ำสุด เราคาดการณ์จากรูปแบบลิ่มชี้ลงได้ว่าราคาตลาดจะสูงขึ้นเหนือเส้นแนวโน้มด้านล่างที่ชันกว่า ส่งสัญญาณว่าจะเคลื่อนตัวสูงขึ้น ถ้าตลาดก่อนหน้านี้เป็นแนวโน้มขาขึ้น แสดงว่านี่เป็นรูปแบบต่อเนื่อง
ลิ่มชี้ลง (รูปแบบกลับตัว): ลิ่มชี้ลงเหมือนกับลิ่มชี้ลงด้านบน แต่เกิดขึ้นในแนวโน้มขาลง ลิ่มชี้ลงส่งสัญญาณว่ามีแนวโน้มที่ราคาจะเคลื่อนสูงขึ้นเมื่อทะลุรูปแบบ ซึ่งจะเป็นการกลับตัวของแนวโน้มขาลง
รูปแบบชายธงหรือธง
- รูปแบบชายธงหรือธงเป็นรูปแบบต่อเนื่องและเป็นกราฟระยะสั้นที่พบได้บ่อยและเชื่อถือได้ที่สุด
- รูปแบบนี้จะเกิดขึ้นเมื่อราคาขึ้นสูงหรือต่ำลงในแนวดิ่ง
- การเคลื่อนไหวที่รวดเร็วนี้ทำให้เกิดเป็น “เสาธง”
- จากนั้นราคาจะเข้าสู่ระยะรวมฐาน ซึ่งการเคลื่อนไหวที่รวดเร็วก่อนหน้านี้แทบไม่เปลี่ยนแปลงไปเลย
- รูปร่างของรูปแบบการรวมฐานจะถูกมองว่าเป็นธง ถ้าเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีเส้นขนานสองเส้นทั้งสองฝั่งของการเคลื่อนไหวที่รวดเร็วในตอนต้น
- รูปแบบจะเป็นชายธง ถ้ามีรูปร่างเป็นสามเหลี่ยม
- ถ้าราคาทะลุจากรูปแบบชายธงหรือธงในทิศทางเดียวกับการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วในตอนแรก แสดงว่า MPO คือความสูงของเสาธงที่ลากสูงขึ้นหรือต่ำลง
รูปแบบสามเหลี่ยมขาขึ้นและขาลง
สามเหลี่ยมขาขึ้น
- รูปแบบนี้มักจะเกิดขึ้นในแนวโน้มขาขึ้น หลังจากราคาเข้าสู่ระยะรวมฐาน
- ระยะรวมฐานนั้นสามารถดูได้จากสามเหลี่ยมที่มีจุดต่ำสุดไล่สูงขึ้นมา แต่ราคาสูงสุดอยู่ที่ราคาเดียวกัน
- เราคาดการณ์ได้ว่าระยะรวมฐานจะสูงขึ้นกว่าจุดสูงสุดเดิม
- MPO สามารถวัดได้จากส่วนที่กว้างที่สุดของสามเหลี่ยมขาขึ้น (ฐานสามเหลี่ยม) ลากขึ้นไปถึงจุดสูงสุดของสามเหลี่ยม
สามเหลี่ยมขาลง: รูปแบบนี้มีผลตรงกันข้ามกับสามเหลี่ยมขาขึ้น เมื่อราคาทะลุลงไปต่ำกว่าเส้นแนวรับของด้านล่างสามเหลี่ยมขาลง แนวโน้มขาลงจะดำเนินต่อไป MPO ใช้วิธีคิดเหมือนกับสามเหลี่ยมขาขึ้น
เราได้ดูรูปแบบกราฟที่เป็นที่นิยมที่สุดและได้สอนวิธีระบุรูปแบบต่างๆ กันไปแล้ว คุณควรจะสามารถตัดสินทิศทางความเป็นไปได้ของตลาดและสามารถคำนวณเป้าหมายราคาจากรูปแบบเหล่านี้ได้ เราขอให้คุณโชคดีกับการเทรดด้วยรูปแบบกราฟต่างๆ กับ Hantec Markets