CFDs are complex instruments and come with a high risk of losing money rapidly due to leverage. 66% of retail investor accounts lose money when trading CFDs with this provider.

You should consider whether you understand how CFDs work and whether you can afford to take the high risk of losing your money.

Please be advised that our Client Portal is scheduled for essential maintenance this weekend from market close Friday 16th February, 2024, and should be back up and running before markets open on Sunday 18th February, 2024.

เรายินดีที่จะแจ้งให้ทราบว่าเรากำลังเตรียมพร้อมสำหรับการอัปเดต Client Portal เพื่อมุ่งเน้นที่จะปรับปรุงประสบการณ์ของคุณกับเรา
Client Portal จะไม่พร้อมให้คุณใช้งานตั้งแต่ตลาดปิดใน วันศุกร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2567 และควรสำรองข้อมูลและทำงานก่อนตลาดเปิดให้บริการใน วันอาทิตย์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2567

CFDs are complex instruments and come with a high risk of losing money rapidly due to leverage. 66% of retail investor accounts lose money when trading CFDs with this provider.

You should consider whether you understand how CFDs work and whether you can afford to take the high risk of losing your money.

Search
Close this search box.

ประวัติศาสตร์ที่น่าทึ่งของตลาดสกุลเงิน: เรื่องราวน่าสนใจที่ไม่ใช่นักเทรดก็อ่านได้

ประวัติของตลาดสกุลเงินนั้นยาวนานและซับซ้อน แต่ก็น่าสนใจ อ่านต่อไปหากคุณสนใจในแง่มุมที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งของการซื้อขายทั่วโลก!
Bretton Woods sign, New Hampshire, USA

ประวัติศาสตร์ของตลาดสกุลเงินถึงแม้จะยาวและซับซ้อน แต่ถึงอย่างไร มันก็น่าทึ่ง ตลาดสกุลเงินเป็นหัวใจสำคัญของเศรษฐกิจโลกและมีพัฒนาการมาตลอดหลายปีเพื่อให้ตอบสนองความต้องการของนักเทรดและนักลงทุน ตลอดหลายศตวรรษที่ผ่านมา มันพัฒนามาเป็นการแลกเปลี่ยนทางการเงินที่ซับซ้อนซึ่งช่วยให้ประเทศต่างๆ องค์กรต่างๆ และผู้คนสามารถซื้อและขายสินค้าและบริการได้ทั่วโลก

ในปัจจุบัน ตลาดสกุลเงินเป็นหนึ่งในแง่มุมที่สำคัญที่สุดในเศรษฐกิจโลก ในฐานะนักเทรดหรือนักลงทุน การเข้าใจประวัติศาสตร์ตลาดเหล่านี้เพื่อนำไปเป็นข้อมูลในการตัดสินใจก็เป็นเรื่องสำคัญ ในการทบทวนประวัติศาสตร์นี้ เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับต้นกำเนิดของตลาดสกุลเงินในยุคแรกจนถึงระบบที่ซับซ้อนในปัจจุบันนี้ และพิจารณาเหตุการณ์สำคัญที่มีอิทธิพลต่อวิวัฒนาการของมัน ซึ่งได้แก่:

 

ตลาดสกุลเงินในประวัติศาสตร์

 

การเทรดสกุลเงินนั้นมีมาหลายศตวรรษและสามารถย้อนไปถึงปีที่เกิดเหตุการณ์ในไบเบิลได้เลย! ในช่วงยุคกลาง ธนาคารถือกำเนิดขึ้นและมีการเทรดสกุลเงินระหว่างยุโรปและบางส่วนของเอเชีย แต่มันก็ยังไม่เป็นตลาดสกุลเงินจนกระทั่งมีการสร้างระบบมาตรฐานทองคำซึ่งทำให้เข้าสู่ยุคที่เรียกว่า “สมัยใหม่”

 

ระบบมาตรฐานทองคำ

 

ระบบมาตรฐานทองคำเป็นระบบเงินตราซึ่งค่าของสกุลเงินถูกผูกไว้กับค่าของทอง ภายใต้ระบบนี้ ธนบัตรสามารถนำมาแลกเป็นทองได้ในอัตราที่กำหนดเอาไว้ อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างสองสกุลเงินจะคำนวณจากราคาทองหนึ่งออนซ์ในทั้งสองสกุลเงิน

อย่างไรก็ตาม ในช่วงต้นสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ระบบมาตรฐานทองคำกลายเป็นระบบเงินตราที่ล่มสลายเพราะประเทศยุโรปจำนวนมากพิมพ์ธนบัตรมาใช้จ่ายในโครงการทางทหารขนาดใหญ่ ระบบมาตรฐานทองคำกลับมาอีกครั้งระหว่างสงครามโลกแต่ก็ถูกละทิ้งไปในปี 1939

 

ข้อตกลงเบรตตันวูดส์

 

ฝ่ายสัมพันธมิตรพบกันในปี 1944 ที่เบรตตันวูดส์ นิวแฮมป์เชียร์ สหรัฐอเมริกา และตกลงที่จะแก้ไขอัตราแลกเปลี่ยนหลักโดยใช้ดอลลาร์สหรัฐเป็นสกุลเงินสำรองหลักแทนทอง ดอลลาร์สหรัฐกลายเป็นเกณฑ์ในการแลกเปลี่ยนสกุลเงิน โดยมีทองคำหนุนหลัง

ระบบเบรตตันวูดส์ ประสบความสำเร็จจนกระทั่งช่วงต้นปี 1970 ซึ่งในตอนนั้นกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ไม่มีทองจำนวนมากพอจะครอบคลุมดอลลาร์สหรัฐทั้งหมดที่อยู่ธนาคารกลางต่างประเทศ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ริชาร์ด นิกสันตัดสินใจล้มล้างระบบทองคำหนุนค่าเงินในวันที่ 15 สิงหาคมปี 1971 จึงทำให้ไม่สามารถแลกเปลี่ยนดอลลาร์สหรัฐเป็นทองอย่างง่ายดายได้อีก มันจึงถูกมองว่าเป็นจุดจบของข้อตกลงเบรตตันวูดส์

ข้อตกลงเบรตตันวูดส์ก็เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดสามองค์กรระดับโลกขึ้น

  • ธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและวิวัฒนาการ (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของธนาคารโลก)
  • กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)
  • ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (GATT) ซึ่งหลังจากนั้นกลายเป็นองค์การการค้าโลก (WTO)

 

ข้อตกลงสมิธโซเนียน

 

หลังจากข้อตกลงเบรตตันวูดส์จบลง ข้อตกลงสมิธโซเนียนก็เกิดขึ้นในปี 1971 ตรึงค่าเงินดอลลาร์สหรัฐกับทองโดยอยู่ที่ 38 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยมีกรอบการแกว่งตัวอยู่ที่ 2.25 เปอร์เซ็นต์ มันเป็นความพยายามตรึงอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินที่อยู่ได้ไม่นาน สหรัฐอเมริกาซึ่งเทียบราคาดอลลาร์สหรัฐกับทองมาเป็นเวลานานตกลงที่จะขึ้นราคาทองและให้สกุลเงินอื่นๆ ผันแปรขึ้นมาใกล้เคียงกับดอลลาร์สหรัฐได้ เป้าหมายก็คือสร้างระบบเงินตราต่างประเทศที่มั่นคงยิ่งขึ้น แต่ข้อตกลงนี้ก็ล่มลงไม่กี่เดือนหลังจากนั้น เมื่อเงินดอลลาร์สหรัฐเริ่มเสียมูลค่าไป ข้อตกลงที่ล้มเหลวนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวในปัจจุบัน ถึงแม้มันจะล้มเหลวไม่เป็นท่า แต่ข้อตกลงสมิธโซเนียนก็ยังเป็นหนึ่งในช่วงเวลาสำคัญในประวัติศาสตร์ด้านเศรษฐกิจ

 

ข้อตกลงพลาซา

 

ข้อตกลงพลาซาเป็นข้อตกลงระหว่างสหรัฐอเมริกากับเศรษฐกิจหลักอีกสี่ประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น เยอรมนีตะวันตก ฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร เพื่อลดค่าเงินดอลลาร์สหรัฐเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้น นอกจากนั้น เป้าหมายก็คือช่วยเหลือเศรษฐกิจของสหรัฐฯ (และทั่วโลก) ให้ฟื้นตัวจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยในช่วงต้นปี 1980 มันได้ชื่อว่าข้อตกลงพลาซาเนื่องจากมีการตกลงกันที่โรงแรมพลาซาในนิวยอร์ก ในวันที่ 22 กันยายนปี 1985 การลดค่าเงินดอลลาร์สหรัฐลงทำให้สินค้าส่งออกของสหรัฐฯ แข่งขันในตลาดได้มากขึ้นและช่วยลดการขาดดุลทางการค้า ข้อตกลงพลาซาประสบความสำเร็จตามเป้าหมายนั่นก็คือลดการขาดดุลการค้าของสหรัฐฯ แต่มันก็มีผลลัพธ์ที่ไม่ได้ตั้งใจตามมา ผลลัพธ์ที่โดดเด่นที่สุดคือค่าเงินเยนญี่ปุ่นสูงขึ้นทำให้สินค้าส่งออกของญี่ปุ่นราคาแพงขึ้น และส่งผลให้ความเติบโตทางเศรษฐกิจญี่ปุ่นถดถอยลง ข้อตกลงพลาซาเป็นสิ่งที่ย้ำเตือนว่าถึงแม้จะเป็นข้อตกลงจากความตั้งใจดีก็อาจส่งผลลัพธ์ที่ไม่คาดฝันได้

 

เส้นเวลาของเหตุการณ์สำคัญในตลาดสกุลเงิน

เส้นเวลา เหตุการณ์
ก่อนประวัติศาสตร์-1875 ตลาดสกุลเงินในประวัติศาสตร์
1875-1939 ระบบมาตรฐานทองคำ
1944-1971 ข้อตกลงเบรตตันวูดส์
1971-1973 ข้อตกลงสมิธโซเนียน
1985-1987 ข้อตกลงพลาซา
1987-ปัจจุบัน ตลาดสกุลเงินสมัยใหม่

 

ตลาดสกุลเงินในปัจจุบัน

 

ตลาดสกุลเงินในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ และขับเคลื่อนด้วยสิ่งต่างๆ มากมายอย่างปัจจัยความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม แก่นของตลาดเหล่านี้คือแนวคิดอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวซึ่งทำให้สกุลเงินต่างๆ ผันแปรตามความเปลี่ยนแปลงในด้านอุปสงค์และอุปทาน ระบบที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอนี้ได้รับอิทธิพลมาจากการพัฒนาจากทั่วโลก ทั้งแหล่งเงินทุนภายนอก และภูมิรัฐศาสตร์ เช่น การคว่ำบาตร ข้อตกลงทางการค้า และการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยซึ่งส่งผลต่อแต่ละสกุลเงินอย่างมาก แต่ก็ต้องขอบคุณความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและอุปกรณ์สื่อสารที่ทำให้ผู้คนสามารถติดตามแนวโน้มของตลาดสกุลเงินทั่วโลกได้ง่ายดายขึ้นกว่าเดิม การเทรดสกุลเงินสมัยใหม่ในปัจจุบันนี้สร้างโอกาสที่น่าตื่นเต้นให้กับนักเทรดในทุกระดับ – ไม่ว่าคุณจะเป็นนักลงทุนอาชีพ หรือว่าเพิ่งเริ่มการเดินทางสู่อิสรภาพทางการเงิน ถ้าคุณอยากเป็นส่วนหนึ่งของสภาพแวดล้อมที่เคลื่อนที่อย่างรวดเร็วและมีความสามารถในการเผชิญหน้ากับความยากลำบาก ทำไมคุณไม่ลงมาดำดิ่งไปในตลาดสกุลเงินปัจจุบันไปกับบัญชีเทรดตามตลาดของ Hantec Markets ล่ะ

Screen and display of stock market, quotes and tickers

คว้าโอกาสของคุณ

ซื้อขายในตลาดขาขึ้นหรือขาลง
สเปรดทองคำเริ่มต้นที่ 0.7 pip
ราคาที่เหนือกว่าตลอด 24 ชั่วโมง
โพสล่าสุด
พร้อมที่จะ เริ่มซื้อขาย แล้วหรือยัง?
โพสต์ที่เกี่ยวข้อง
สมัครสมาชิกบล็อกของเรา
สำหรับข่าวสารล่าสุดและแหล่งข้อมูลการซื้อขาย โปรดส่งตรงไปที่กล่องจดหมายของคุณ
rotator.png

เรากำลังพาท่านไปสู่ Hantec Trader ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของเรา

โปรดทราบว่า Hantec Trader ไม่รองรับลูกค้าจากสหรัฐอเมริกาหรือประเทศที่ถูกจำกัดอื่นๆ

Line-website.png