CFDs are complex instruments and come with a high risk of losing money rapidly due to leverage. 61% of retail investor accounts lose money when trading CFDs with this provider.

You should consider whether you understand how CFDs work and whether you can afford to take the high risk of losing your money.

Please be advised that our Client Portal is scheduled for essential maintenance this weekend from market close on Friday 5th April, 2024, and should be back up and running before markets open on Sunday 7th April, 2024.

เรายินดีที่จะแจ้งให้ทราบว่าเรากำลังเตรียมพร้อมสำหรับการอัปเดต Client Portal เพื่อมุ่งเน้นที่จะปรับปรุงประสบการณ์ของคุณกับเรา
Client Portal จะไม่พร้อมให้คุณใช้งานตั้งแต่ตลาดปิดใน วันศุกร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2567 และควรสำรองข้อมูลและทำงานก่อนตลาดเปิดให้บริการใน วันอาทิตย์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2567

CFDs are complex instruments and come with a high risk of losing money rapidly due to leverage. 61% of retail investor accounts lose money when trading CFDs with this provider.

You should consider whether you understand how CFDs work and whether you can afford to take the high risk of losing your money.

Search
Close this search box.

การบริหารจัดการความเสี่ยงและ And Stop Loss

เรียนรู้เกี่ยวกับเครื่องมืออันดับหนึ่งซึ่งช่วยลดความเสี่ยงที่จะขาดทุนจำนวนมาก โดยเราจะอธิบายว่าคำสั่ง Stop ทำงานอย่างไรและแสดงให้คุณเห็นว่าจะสั่งให้โบรกเกอร์ดำเนินการเทรดเมื่อราคาในตลาดเคลื่อนไหวผ่านระดับที่เจาะจงได้อย่างไร

การบริหารจัดการความเสี่ยง

การบริหารจัดการความเสี่ยงเป็นหนึ่งในชุดทักษะที่สำคัญที่สุดที่เทรดเดอร์ใหม่จำเป็นต้องเรียนรู้ เมื่อกำลังตัดสินใจในการเทรดหรือการลงทุน คุณจะต้องพิจารณาความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นอย่างระมัดระวัง ได้แก่:

  • สินทรัพย์ในตลาดเงินใดที่คุณต้องการเทรด
  • สินทรัพย์ใดที่เป็นโอกาสดีในตอนนี้
  • คุณจะซื้อหรือขาย
  • คุณจะเข้าเทรดที่ราคาใด
  • เป้าของคุณอยู่ที่ระดับใด

และแม้แต่ก่อนที่คุณจะเข้าเทรด คุณจะต้องสร้างความชัดเจนว่าระดับใดแสดงถึงความผิดพลาดในการเทรดและระดับใดที่คุณควรออกจากการเทรด

คำตอบของคำถามเหล่านี้จะช่วยให้คุณทราบกลยุทธ์การเทรดโดยรวมและการตัดสินใจเกี่ยวกับจุดเข้า เป้าราคาและจุดออก

สิ่งเหล่านี้จะให้ข้อมูลเบื้องต้นสำหรับการคำนวณ Risk Reward Ratio ซึ่งเป็นเครื่องมือชี้วัดการบริหารจัดการความเสี่ยงที่สำคัญ

จากนั้น คุณจะสามารถตัดสินใจได้อย่างมีความเข้าใจเกี่ยวกับจุดที่จะใช้เครื่องมือสำคัญสำหรับบริหารจัดการความเสี่ยงในการเทรด ได้แก่ Stop, Stop Loss และจุดออก

มาดูเครื่องมือเหล่านี้แต่ละตัวโดยละเอียดกัน รวมถึงวิธีที่คุณจะนำมาใช้เพื่อพัฒนาการเทรดของคุณ

Stop และ Stop Loss

Stop หรือ Stop loss คือวิธีออกจากสถานะที่เปิดอยู่โดยอัตโนมัติ เทรดเดอร์จึงไม่ต้องใช้แพตฟอร์มการเทรดในขณะนั้น เครื่องมือซึ่งเป็นกลไกการเทรดตัวนี้จะช่วยปกป้องคุณจากการขาดทุนจนเกินระดับที่สามารถรับได้ หากตลาดเคลื่อนไหวตรงข้ามกับการเทรดของคุณ

นอกจากนี้ยังช่วยเก็บกำไรของคุณไว้เมื่อคุณทำเงินได้ คุณจึงไม่จำเป็นต้องเฝ้าการเทรดที่เปิดอยู่ทั้งหมดด้วยตัวเองแบบเรียลไทม์ ซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพในตลาดสมัยใหม่ที่เปิด 24 ชั่วโมงต่อวัน 5 ½ วันต่อสัปดาห์

วิธีใช้ Stop ในการเทรด

ตัวอย่างเช่น หากคุณเข้าซื้อสถานะ Long ในตลาดโดยคาดการณ์ว่าราคาจะปรับขึ้น คุณจะตั้งคำสั่ง Stop ที่อาจได้ใช้หรือไม่ได้ใช้โดยตั้งไว้ที่ต่ำกว่าราคาตลาดปัจจุบัน หากราคาปรับตัวลดลงต่ำกว่าราคาดังกล่าว สถานะ Long ที่เปิดอยู่จะถูกปิดโดยอัตโนมัติ

หากคุณซื้อ GBPUSD ที่ 1.3000 (โดยคาดการณ์ว่าราคาจะบวกขึ้นอีก) แต่ว่าราคากลับปรับตัวลดลง คุณควรตั้ง Stop Loss ไว้ที่ 1.2900 หากตลาดปรับตัวลดลงจนถึง 1.2900 คำสั่ง Stop ก็จะทำงานและสถานะ Long GBPUSD จะถูกปิดโดยอัตโนมัติ ทำให้ขาดทุน 100 pips (0.1000) และการขาดทุนตามจริงก็จะคูณด้วยขนาดสถานะ

ในทางกลับกัน หากคุณมองว่าทองคำอยู่ในภาวะตลาดหมีและได้ขายที่ 1600.00 โดยมองว่าราคาจะตกลงอีก คุณอาจต้องการปกป้องเงินที่คุณอาจขาดทุนได้โดยตั้งคำสั่ง Stop ไว้เหนือราคาตลาดปัจจุบัน เช่น 1640.00 หากตลาดเคลื่อนไหวตรงข้ามกับการเทรดของคุณและปรับตัวขึ้นเหนือ 1640.00 สถานะ Short ก็จะถูกปิดโดยอัตโนมัติโดยจะขาดทุน 40.00 (ย้ำอีกครั้งว่าคูณด้วยขนาดสถานะ)

เมื่อ Stop ทำงาน จะไม่จำเป็นต้องเกิดการขาดทุนเสมอไป เพราะ Stop จะไม่ใช่ Stop Loss ทั้งหมด Stop สามารถใช้เพื่อจัดการสถานะที่เปิดอยู่เมื่อตลาดเคลื่อนไหวไปในทิศทางที่คุณคาดเพื่อให้สถานะที่เปิดอยู่ของคุณยังคงได้กำไร

ลองกลับมาดูสถานะ Long ที่พูดถึงข้างต้น โดยซื้อ GBPUSD ที่อัตรา 1.3000

แต่ในสถานการณ์ใหม่ ตลาดอาจปรับตัวเพิ่มขึ้นตามที่คุณคาดและวิ่งไปที่ 1.3150 คุณก็อาจขยับระดับราคาเป้าหมายขึ้นมาที่ 1.3200 อย่างไรก็ตาม ที่จุดนี้ คุณอาจตัดสินใจปกป้องกำไรบางส่วนของตนเองโดยขยับ Stop เดิมมาที่ 1.3100 (เดิมเคยตั้ง Stop Loss ไว้ที่ 1.2900)

ซึ่งหมายความว่าหากหลังจากนั้น อัตราแลกเปลี่ยน GBPUSD ได้ปรับตัวลดลงก่อนที่จะถึงราคาเป้าหมายที่ 1.3200 โดยลดลงต่ำกว่า 1.3100 สถานะ Long ก็จะถูกปิดโดยอัตโนมัติ คุณจึงได้กำไร 100 pips (0.1000) คูณด้วยขนาดสถานะและจะปิดสถานะ Long ของคุณเพื่อรักษากำไรเอาไว้

Stop สามารถและควรเป็นส่วนหนึ่งในการบริหารจัดการการเทรดของคุณในกลยุทธ์ต่างๆ

Trailing stops

ตัวอย่างข้างต้นถือเป็น Stop Loss “ปกติ” Stop Loss อีกประเภทหนึ่งก็คือ Trailing Stop Trailing Stop Loss จะไม่ได้ตั้งในตำแหน่งที่คงที่ในตลาด แต่จะเคลื่อนไหวตามหรือ “ตามรอย” ราคาจริงในตลาด

  • หากคุณมีสถานะ Long ที่เปิดอยู่ Trailing Stop จะตั้งไว้ต่ำกว่าตลาด
  • หากคุณมีสถานะ Short ที่เปิดอยู่ Trailing Stop จะตั้งไว้สูงกว่าตลาด

ความแตกต่างระหว่าง Trailing Stop กับ Stop ปกติก็คือเมื่อตลาดเคลื่อนไหวไปตามทิศทางที่คุณคาด Stop จะเคลื่อนไหวไปในทิศทางดังกล่าวตามเปอร์เซ็นต์หรือจำนวนเต็มที่กำหนดไว้จากราคาตลาดปัจจุบัน

ระยะห่างระหว่างทั้งสองจุดมักเรียกว่า “Trailing Stop” อย่างไรก็ตาม หากหลังจากนั้นราคาตลาดปัจจุบันเคลื่อนไหวตรงข้าม Trailing Stop ก็จะไม่ขยับตาม

ลองดูตัวอย่างกัน

เราอาจขายดัชนีหุ้น DAX ของเยอรมนี (หรือ GER30 ของ Hantec Markets) ที่ระดับ 13000 โดยคาดว่าตลาดจะปรับตัวลดลงและตั้ง Trailing Stop ไว้ที่ 13100 หรือห่างออกมา 100 จุดดัชนี

หาก GER 30 ปรับตัวลดลง จากนั้น Trailing Stop จะปรับตัวลดลงต่ำกว่าราคาตลาดปัจจุบันเพื่อรักษาระยะห่าง 100 จุดดัชนีจากตลาดปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม หากตลาดกลับปรับตัวบวก Trailing Stop Loss จะไม่ขยับตามไปด้วย

Trailing Stop จะเคลื่อนไหวไปในทิศทางการเทรดที่คุณคาดการณ์เท่านั้น ดังนั้น จึงจะปรับตัวลดลงในสถานะ Short และปรับตัวเพิ่มขึ้นในสถานะ Long โดยจะไม่ปรับตัวกลับไปในทิศทางอื่น หากตลาดเคลื่อนไหวตรงข้ามกันสถานะที่คุณเปิดอยู่

Stop entry

ลองกลับมาดูตัวอย่างราคาทองคำข้างต้น อย่างไรก็ตาม ในเวลานี้ เราจะสมมุติว่าคุณมองว่าตลาดเป็นภาวะหมี แทนที่จะขายในตอนนี้ (โดยใช้คำสั่ง Market) หรือขายที่ราคาสูงขึ้น (โดยทำคำสั่ง Limit ที่ราคาสูงกว่าปัจจุบัน) แต่คุณอาจต้องการขายเมื่อทองคำร่วงลงมาต่ำกว่าระดับ 1600.00 เท่านั้นซึ่งในขณะนี้ ทองคำกำลังเทรดที่ 1620.00

ดังนั้น คุณต้องใช้คำสั่ง Stop Entry

Stop Entry มีสองประเภท ได้แก่:

  • คำสั่ง Sell-Stop Entry
  • คำสั่ง Buy-Stop Entry

Sell-Stop Entry เป็นคำสั่งให้เข้าทำสถานะ Short เมื่อตลาดกำลังเทรดเหนือระดับที่กำหนด ดังนั้น ในตัวอย่างของทองคำ จะมีการทำสถานะ Short เมื่อราคาตลาดปัจจุบันเคลื่อนไหวต่ำกว่า 1600.00 เท่านั้น

ในทางกลับกัน หากคุณมองว่าตลาดเป็นภาวะกระทิงและคาดว่าราคาในตลาดจะปรับตัวเพิ่มขึ้นแต่เฉพาะเมื่อเกิดการทะลุระดับราคาบางระดับที่สูงกว่าราคาตลาดปัจจุบันเท่านั้น (ในกรณีของทองคำข้างต้น อาจสูงกว่า 1650.00) คุณควรทำคำสั่ง Buy-Stop Entry สูงกว่าราคาตลาดปัจจุบัน คุณควรเข้าทำสถานะ Long หากราคาตลาดปัจจุบันเคลื่อนไหวสูงกว่าระดับคำสั่ง Buy Entry

สรุป การบริหารจัดการความเสี่ยงและ Stop Loss

Stop สำหรับออกคือลักษณะสำคัญในการบริหารจัดการความเสี่ยงสำหรับกลยุทธ์หรือแผนการเทรดใดๆ คุณจึงควรทุ่มเทเวลาส่วนใหญ่ไปกับการทำความเข้าใจเรื่องนี้ในการเทรดขณะที่คุณใช้เวลาตัดสินใจในการซื้อหรือขาย

เปิดเมนูสืบค้นเนื้อหา
เปิดเมนูสืบค้นเนื้อหา

พร้อมเริ่มต้นเทรดหรือยัง

Popup title

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Ut elit tellus, luctus nec ullamcorper mattis, pulvinar dapibus leo.

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Ut elit tellus, luctus nec ullamcorper mattis, pulvinar dapibus leo.

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Ut elit tellus, luctus nec ullamcorper mattis, pulvinar dapibus leo.

 

rotator.png

เรากำลังพาท่านไปสู่ Hantec Trader ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของเรา

โปรดทราบว่า Hantec Trader ไม่รองรับลูกค้าจากสหรัฐอเมริกาหรือประเทศที่ถูกจำกัดอื่นๆ