การเทรดสกุลเงินคืออะไร
การเทรดสกุลเงินคืออะไร
ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสกุลเงิน ซึ่งเป็นการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างสกุลพร้อมกันในตลาด รวมถึงเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับตลาดเงินที่มีสภาพคล่องสูงสุดและใหญ่ที่สุดในโลก
เขียนโดย Aaron Akwu, Head of Education Hantec Markets
ข้อมูลเบื้องต้นสู่การเทรดสกุลเงินหรือการเทรด Forex
การเทรด forex หรือที่เรียกว่าการซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา การเทรดสกุลเงิน หรือตลาด FX หมายถึงการซื้อขายสกุลเงินในตลาด forex ตลาด forex เป็นตลาดแบบกระจายอำนาจ (ไม่มีการผูกขาดการซื้อขายโดยรายใหญ่เพียงรายใดรายหนึ่ง) ที่ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง 5 วันต่อสัปดาห์ และเป็นตลาดการเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีปริมาณการซื้อขายต่อวันมากกว่า 7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ในการเทรด forex นักลงทุนรายย่อยและสถานบันการเงินต่างๆ จะซื้อและขายคู่สกุลเงินต่างๆ เช่น ดอลลาร์สหรัฐและยูโร เพื่อทำกำไร การเทรด forex ดำเนินการผ่านโบรกเกอร์ ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย มูลค่าของสกุลเงินมีความผันผวนอย่างต่อเนื่อง และเทรดเดอร์ forex ทำกำไรจากการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้โดยการซื้อในราคาต่ำและขายในราคาสูง (Buying low and selling high) หรือขายในราคาสูงและซื้อในราคาต่ำ (Selling high and buying low) สำหรับผู้ที่มีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในตลาดสกุลเงินและปัจจัยต่างๆ ที่ขับเคลื่อนราคาของสกุลเงินสามารถทำกำไรจากการเทรดฟอเร็กซ์ (Forex Trading) ได้
ประวัติตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
ตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ หรือที่เรียกว่าตลาด forex เป็นตลาดที่มีการกระจายอำนาจซึ่งมีการซื้อและขายสกุลเงินทั่วโลก โดยมีคู่สกุลเงินเป็นสินค้าหลักในการเทรด ประวัติตลาด forex สามารถย้อนไปถึงสมัยโบราณ เมื่อเงินถูกใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการเป็นครั้งแรก
ตลาดเงินตราสมัยใหม่เริ่มเป็นรูปเป็นร่างในช่วงศตวรรษที่ 19 เมื่อประเทศต่างๆ เริ่มใช้มาตรฐานทองคำ และการแลกเปลี่ยนสกุลเงินต่างประเทศแพร่หลายมากขึ้น ในช่วงปลายปี 1800 และต้นปี 1900 การแลกเปลี่ยนสกุลเงินส่วนใหญ่ดำเนินการผ่านธนาคารและสถาบันการเงินอื่นๆ ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายสกุลเงินต่างๆ
ในช่วงศตวรรษที่ 20 ตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศมีการเติบโตและการพัฒนาที่สำคัญ หลังสงครามโลกครั้งที่สอง มีการลงนามในข้อตกลงเบรตตัน วูดส์ (Bretton Woods Agreement) ซึ่งกำหนดให้เงินดอลลาร์สหรัฐเป็นสกุลเงินหลักของโลก และผูกมัดมูลค่าสกุลเงินอื่นๆ เทียบกับมูลค่าสกุลเงินดอลลาร์ ข้อตกลงนี้นำไปสู่การเกิดตลาด forex สมัยใหม่แห่งแรกของโลก
ในช่วงปี 1970 มีการยกเลิกข้อตกลงเบรตตัน วูดส์
สกุลเงินต่างๆ ของโลกเริ่มเคลื่อนไหวอย่างอิสระต่อกัน ทำให้สามารถซื้อขายสกุลเงินได้อย่างเสรี ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศสมัยใหม่ที่เรารู้จักในทุกวันนี้ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ตลาด forex ได้กลายเป็นหนึ่งในตลาดการเงินที่ใหญ่ที่สุดและมีการซื้อขายมากที่สุดในโลก โดยมีปริมาณการซื้อขายต่อวันมากกว่า 7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
การพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น อินเทอร์เน็ตและแพลตฟอร์มการซื้อขายทางอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้นักลงทุนรายย่อยและสถาบันการเงินต่างๆ (ธนาคาร ตัวแทนจำหน่ายฟอเร็กซ์รายย่อย บริษัทการค้า ธนาคารกลาง บริษัทจัดการการลงทุน กองทุนเฮดจ์ฟันด์) สามารถเข้าร่วมตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศได้ง่ายขึ้น ทำให้พวกเขาเทรดสกุลเงินต่างๆ ได้ง่ายขึ้น ทุกวันนี้ เทรดเดอร์และนักลงทุนทั่วโลกสามารถเข้าถึงตลาด forex ได้ และตลาด forex ยังคงเติบโตและพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามการพัฒนาผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีทางการเงินใหม่ๆ
การซื้อขายสกุลเงินทำงานอย่างไร
ในการเริ่มเทรดสกุลเงิน คุณต้องสร้างบัญชีเทรด Forex กับโบรกเกอร์ก่อน เทรดเดอร์เลือกคู่สกุลเงินเพื่อเทรด เช่น EUR/USD จากนั้นกำหนดว่าจะซื้อ (Buy) หรือขาย (Sell) สกุลเงินหลัก (EUR) เมื่อเทียบกับสกุลเงินอ้างอิง (USD) ตามการวิเคราะห์ตลาดและการคาดการณ์มูลค่าของสกุลเงิน
ถ้าเทรดเดอร์เชื่อว่ามูลค่าของสกุลเงินหลัก (EUR) จะเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินอ้างอิง (USD) พวกเขาจะดำเนินการซื้อคู่สกุลเงิน EUR/USD ถ้าพิสูจน์ได้ว่าพวกเขาวิเคราะห์แม่นยำและมูลค่าของสกุลเงินหลัก (EUR) เพิ่มขึ้นจริง พวกเขาจะทำธุรกรรมขายคู่สกุลเงินนื่ และเก็บเกี่ยวผลกำไรจากการเทรดสกุลเงินของพวกเขา
ผู้เล่นหลักในตลาด forex
ผู้เล่นหลักบางรายในตลาด forex ได้แก่:
- ธนาคารกลาง (Central banks) – ธนาคารกลางมีบทบาทสำคัญในตลาด forex เนื่องจากธนาคารกลางควบคุมอุปสงค์และอุปทานของสกุลเงินในประเทศของตน ธนาคารกลางสหรัฐฯ ธนาคารกลางยุโรป ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น และธนาคารแห่งประเทศอังกฤษเป็นธนาคารกลางที่มีอิทธิพลมากที่สุดในตลาด forex
- ธนาคารพาณิชย์ (Commercial Banks) – ธนาคารพาณิชย์มีหน้าที่อำนวยความสะดวกในการค้าระหว่างประเทศโดยให้บริการแลกเปลี่ยนเงินตราแก่ลูกค้า นอกจากนี้ ยังมีบทบาทสำคัญในตลาด forex เนื่องจากพวกเขาใช้กลยุทธ์ป้องกันความเสี่ยงจากสกุลเงิน (Currency Hedging Strategies) เพื่อลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
- ธนาคารเพื่อการลงทุน (Investment Banks) – ธนาคารเพื่อการลงทุนให้บริการการเทรดสำหรับสถาบันและองค์กรขนาดใหญ่ ธนาคารเพื่อการลงทุนยังมีส่วนร่วมในการเทรดเก็งกำไรในตลาด forex และเสนอตราสารอนุพันธ์สกุลเงิน เช่น สัญญาแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (Currency Swaps) และสัญญาสิทธิการซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศ (Currency Options)
- กองทุนบริหารความเสี่ยง (Hedge Funds) – กองทุนบริหารความเสี่ยงใช้กลยุทธ์การลงทุนที่หลากหลายเพื่อสร้างผลตอบแทน และส่วนใหญ่มีการเทรดในตลาด forex กองทุนบริหารความเสี่ยงใช้เลเวอเรจเพื่อเพิ่มผลตอบแทนสูงสุด และอาจส่งผลกระทบต่อราคาสกุลเงินอย่างมาก
- นักเทรดรายย่อย (Retail Traders) – นักเทรดรายย่อยหรือที่เรียกว่านักเทรดรายบุคคล เป็นส่วนเล็กๆ ของผู้เข้าร่วมในตลาด forex ทั้งหมด พวกเขาเทรดผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ที่โบรกเกอร์ forex รายย่อยเสนอให้
- สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (Non-Banking Financial Institutions) – สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร เช่น บริษัทประกันและกองทุนบำเหน็จบำนาญ ร่วมทำการเทรดในตลาด forex เช่นกัน เพื่อจัดการความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อสกุลเงินของตน
สกุลเงินหลักที่มีการเทรดในตลาด forex
มีสกุลเงินหลักหลายสกุลในตลาด forex โดยแต่ละสกุลเงินมีลักษณะเฉพาะและมีอิทธิพลต่อตลาดที่แตกต่างกัน สกุลเงินที่มีการเทรดมากที่สุดบางรายการ ได้แก่ ดอลลาร์สหรัฐ (USD) ยูโร (EUR) เยนญี่ปุ่น (JPY) ปอนด์อังกฤษ (GBP) ฟรังก์สวิส (CHF) และดอลลาร์ออสเตรเลีย (AUD)
สำหรับเทรดเดอร์ forex การเข้าใจพฤติกรรมและแนวโน้มตลาดในอนาคตของสกุลเงินหลักเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญ สิ่งเหล่านี้มักเป็นพื้นฐานของกลยุทธ์การเทรด forex เนื่องจากมีสภาพคล่องสูงและเสนออัตราแลกเปลี่ยนที่ดี เทรดเดอร์ forex อาจเลือกเทรดคู่สกุลเงินคู่ใดคู่หนึ่งให้ชำนาญ หรือใช้ความได้เปรียบทางด้านโอกาสด้วยการเทรดหลายคู่สกุลเงิน
ข้อได้เปรียบที่สำคัญประการหนึ่งของการเทรดในตลาด forex คือความสามารถในการทำกำไรจากความผันผวนของสกุลเงิน ทั้งในแง่ของการซื้อและการขายสกุลเงิน ตัวอย่างเช่น เทรดเดอร์ forex อาจเลือกซื้อสกุลเงินต่างประเทศหากเชื่อว่ามูลค่าของสกุลเงินนั้นมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต จากนั้นจึงขายเพื่อทำกำไรเมื่อมูลค่านั้นเพิ่มขึ้นตามความเป็นจริง
คู่เงินหลัก (Major Currencies) มีบทบาทสำคัญในตลาด forex และเทรดเดอร์ forex จำเป็นต้องพิจารณาเพื่อพัฒนากลยุทธ์การเทรด forex การทำความเข้าใจพฤติกรรมและแนวโน้มตลาดในอนาคตของสกุลเงินเหล่านี้ช่วยให้เทรดเดอร์ forex ตัดสินใจโดยอิงจากข้อมูลและเพิ่มผลกำไรสูงสุดให้พวกเขา
6 คู่สกุลเงินที่มีการเทรดมากที่สุดในโลก
มีคู่สกุลเงินหลายคู่ที่เทรดกันในตลาด forex แต่คู่สกุลเงินที่มีการเทรดมากที่สุดเรียกว่าคู่สกุลเงินหลัก คู่สกุลเงินเหล่านี้คิดเป็นมูลค่ามากกว่า 85% ของปริมาณการเทรดในตลาด forex รายวันทั้งหมด ข้อมูลเหล่านี้คือ คู่สกุลเงินหลักในตลาด forex:
- EUR/USD (ยูโร/ดอลลาร์สหรัฐ) – นี่คือคู่สกุลเงินที่มีการเทรดมากที่สุดในตลาด forex โดยคิดเป็นมูลค่า 28% ของปริมาณการเทรดในตลาด forex รายวันทั้งหมด คู่สกุลเงินนี้แสดงมูลค่าของเงินยูโรในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ
- USD/JPY (ดอลลาร์สหรัฐ/เยนญี่ปุ่น) – คู่สกุลเงินนี้แสดงมูลค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐในสกุลเงินเยนของญี่ปุ่น นี่คือคู่สกุลเงินที่มีการเทรดมากที่สุดเป็นอันดับสองในตลาด forex โดยคิดมูลค่าเป็น 13% ของปริมาณการเทรดในตลาด forex รายวันทั้งหมด
- GBP/USD (ปอนด์อังกฤษ/ดอลลาร์สหรัฐ) – คู่สกุลเงินนี้แสดงมูลค่าของสกุลเงินปอนด์อังกฤษในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ เป็นที่รู้จักในชื่อ “เคเบิล (Cable)” และเป็นคู่สกุลเงินที่มีการเทรดมากที่สุดเป็นอันดับสามในตลาด forex โดยคิดมูลค่าเป็น 11% ของปริมาณการเทรดในตลาด forex รายวันทั้งหมด
- USD/CHF (ดอลลาร์สหรัฐ/ฟรังก์สวิส) – คู่สกุลเงินนี้แสดงมูลค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐในสกุลเงินฟรังก์สวิส เป็นคู่สกุลเงินที่มีการเทรดมากที่สุดเป็นอันดับสี่ในตลาด forex โดยคิดมูลค่าเป็น 7% ของปริมาณการเทรดในตลาด forex รายวันทั้งหมด
- AUD/USD (ดอลลาร์ออสเตรเลีย/ดอลลาร์สหรัฐ) – คู่สกุลเงินนี้แสดงมูลค่าของสกุลเงินดอลลาร์ออสเตรเลียในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ เป็นคู่สกุลเงินที่มีการเทรดมากที่สุดเป็นอันดับห้าในตลาด forex ซึ่งคิดเป็น 6% ของปริมาณการเทรดในตลาด forex รายวันทั้งหมด
- USD/CAD (ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์แคนาดา) – คู่สกุลเงินนี้แสดงถึงมูลค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐในสกุลเงินดอลลาร์แคนาดา เป็นคู่สกุลเงินที่มีการเทรดมากที่สุดเป็นอันดับที่หกในตลาด forex ซึ่งคิดมูลค่าเป็น 5% ของปริมาณการเทรดในตลาด forex รายวันทั้งหมด
คู่สกุลเงินหลักในตลาด forex เป็นคู่สกุลเงินที่มีสภาพคล่องสูงที่สุดในโลก และมีการเทรดกันอย่างแพร่หลาย กลุ่มนักลงทุนสามารถเทรดคู่สกุลเงินเหล่านี้ได้ตลอดเวลา เนื่องจากตลาด forex เปิดทำการตลอด 24 ชั่วโมง 5 วันต่อสัปดาห์
อะไรเป็นตัวขับเคลื่อนตลาด Forex
อุปสงค์และอุปทาน (Demand and Supply) มีบทบาทสำคัญในการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินต่างๆ เมื่อสกุลเงินใดสกุลเงินหนึ่งมีอุปสงค์หรือปริมาณความต้องการซื้อ (Demand) สูงขึ้น มูลค่าของสกุลเงินนั้นจะเพิ่มขึ้น ในขณะที่ปริมาณความต้องการซื้อที่ลดลงจะทำให้มูลค่าของสกุลเงินนั้นลดลงเช่นกัน ในทางกลับกัน อุปทานหรือปริมาณความต้องการเสนอขาย (Supply) ของสกุลเงินที่เพิ่มขึ้นจะทำให้มูลค่าของสกุลเงินนั้นลดลง ในมุมกลับกัน หากอุปทานลดลงส่งผลให้มูลค่าของสกุลเงินเพิ่มขึ้น
อัตราดอกเบี้ย (Interest Rate) มีบทบาทสำคัญในตลาด forex เช่นกัน ธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ปรับอัตราดอกเบี้ยอย่างสม่ำเสมอเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อและรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อความต้องการสกุลเงินใดสกุลเงินหนึ่ง และส่งผลในทางกลับกันต่ออัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
ตลาดฟอเร็กซ์ (Forex Market) มีบทบาทสำคัญในการเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนด้วยเช่นกัน ตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศมีขนาดกว้างใหญ่มาก มีผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนจากทั่วทุกมุมโลก และการไหลเวียนเงินตราระหว่างประเทศอาจส่งผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนได้ นอกจากนี้ ตลาด forex มีสภาพคล่องสูง หมายความว่าสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์ (Demand) ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจทำให้อัตราแลกเปลี่ยนมีความผันผวนสูง
ตลาดหุ้น (Stock Market) สามารถส่งผลกระทบต่อตลาด forex ได้เช่นกัน ตลาดหุ้นมีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับสุขภาพโดยรวมของเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นอาจส่งผลต่อความต้องการสกุลเงินใดสกุลเงินหนึ่ง ตัวอย่างเช่น ตลาดหุ้นที่แข็งแกร่งอาจทำให้ความต้องการสกุลเงินเพิ่มขึ้น ในขณะที่ตลาดหุ้นที่อ่อนแออาจทำให้ความต้องการสกุลเงินลดลง
ประการสุดท้าย สกุลเงินต่างประเทศอาจมีบทบาทในการขับเคลื่อนตลาด forex ได้ การแลกเปลี่ยนสกุลเงินต่างประเทศอาจส่งผลต่ออุปสงค์และอุปทานของสกุลเงินใดสกุลเงินหนึ่ง และการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าสกุลเงินต่างประเทศอาจส่งผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนเช่นกัน
การพัฒนากลยุทธ์การเทรดในตลาด Forex
การพัฒนากลยุทธ์การเทรดที่ประสบความสำเร็จในตลาด forex จำเป็นต้องมีการวางแผนอย่างรอบคอบและอาศัยความเข้าใจตลาดอย่างถ่องแท้ ขั้นตอนต่อไปนี้สามารถช่วยคุณสร้างกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพสำหรับการเทรดในตลาด forex ได้:
- กำหนดเป้าหมายการลงทุนของคุณ: เป้าหมายการลงทุนของคุณจะส่งผลต่อประเภทกลยุทธ์ที่คุณใช้ ตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการสร้างผลกำไรที่มั่นคง คุณอาจควรใช้กลยุทธ์การบริการแบบระมัดระวัง (Conservative Strategy) แต่ถ้าหากคุณต้องการเพิ่มผลกำไรสูงสุดในช่วงเวลาสั้นๆ คุณอาจควรใช้กลยุทธ์เชิงรุก (Aggressive Strategy)
- ศึกษาตลาด: ก่อนจะเริ่มเทรด คุณจำเป็นต้องมีความเข้าใจรอบด้านเกี่ยวกับตลาด forex รวมถึงผู้เข้าร่วมตลาด ตัวบ่งชี้ทางเศรษฐกิจ และแนวโน้มปัจจุบัน สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้คุณตัดสินใจเทรดโดยอิงจากข้อมูลและพัฒนากลยุทธ์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
- ระบุสไตล์การเทรดของคุณ: มีสไตล์การเทรดที่แตกต่างกันในตลาด forex ได้แก่ การเทรดทำกำไรในช่วงสั้นๆ (Scalping) การเทรดแบบสวิง (Swing Trading) และการเทรดแบบถือสถานะ (Position Trading) การระบุสไตล์ที่คุณถนัดจะช่วยให้คุณพัฒนากลยุทธ์ที่ปรับให้เหมาะกับจุดแข็งและจุดอ่อนของคุณได้
- เลือกเครื่องมือการเทรดของคุณ: คุณสามารถเทรดคู่สกุลเงินได้หลากหลายในตลาด forex สิ่งสำคัญคือต้องเลือกคู่เงินที่คุณมั่นใจในการเทรดมากที่สุดและมีประวัติผลตอบแทนที่น่าเชื่อถือ
- พัฒนาแผนการเทรด: แผนการเทรดของคุณควรระบุจุดเข้าและจุดออก รวมถึงกลยุทธ์การจัดการความเสี่ยงของคุณ คุณควรกำหนดขนาดออเดอร์ที่เหมาะสม (Position Sizing) ระดับจุดตัดขาดทุน (Stop Loss) และเป้าหมายกำไร (Take Profit) ด้วยเช่นกัน
- ติดตามตลาด: การติดตามข่าวเศรษฐกิจ แนวโน้มของตลาด และปัจจัยอื่นๆ ที่อาจส่งผลต่อมูลค่าของคู่สกุลเงินเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จในการเทรด forex คุณควรติดตามตลาดอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้มั่นใจว่ากลยุทธ์ของคุณยังคงสัมพันธ์กันและมีประสิทธิภาพ
- ตรวจสอบและอัปเดตกลยุทธ์ของคุณเป็นประจำ: ในขณะที่ตลาด forex วิวัฒนาการอยู่ตลอด คุณต้องทบทวนและอัปเดตกลยุทธ์ของคุณอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะช่วยให้คุณนำหน้าคู่แข่งและปรับตัวเข้ากับสภาวะตลาดที่เปลี่ยนแปลงได้
สิ่งสำคัญคือต้องจำไว้ว่าไม่มีกลยุทธ์การเทรดใดที่ป้องกันความล้มเหลวได้ 100% และแม้แต่นักเทรดที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดยังสามารถขาดทุนได้ คุณจำเป็นต้องมีแผนการจัดการความเสี่ยงที่ผ่านการคิดมาอย่างดีเพื่อลดการขาดทุนและเพิ่มผลกำไรของคุณ
การพัฒนากลยุทธ์การเทรดที่ประสบความสำเร็จในตลาด forex ต้องอาศัยความรู้ในเรื่องตลาด ระเบียบวินัย และแนวทางที่วางแผนมาเป็นอย่างดี เมื่อทำตามขั้นตอนเหล่านี้ คุณจะสามารถเพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จในตลาด forex และตัดสินใจโดยอิงจากข้อมูลได้
คำศัพท์พื้นฐานในตลาด forex
คำศัพท์พื้นฐานบางส่วนที่ใช้ในตลาด forex มีดังนี้:
คู่สกุลเงิน (Currency Pair): คู่สกุลเงินคือโครงสร้างราคาและราคาของสกุลเงินที่ซื้อขายในตลาด forex มูลค่าของสกุลเงินหนึ่งกำหนดด้วยการเปรียบเทียบกับมูลค่าสกุลเงินอีกสกุลเงินหนึ่ง สกุลเงินแรกของคู่สกุลเงินเรียกว่าสกุลเงินหลัก (Base Currency) และสกุลเงินที่สองเรียกว่าสกุลเงินอ้างอิง ตัวอย่างเช่น ในคู่สกุลเงิน EUR/USD สกุลเงิน EUR เป็นสกุลเงินหลัก และสกุลเงิน USD เป็นสกุลเงินอ้างอิง (Quote Currency)
ราคาเสนอขาย (Bid Price): ราคาเสนอขายที่โบรกเกอร์เสนอให้เป็นราคาขายสูงสุดที่ผู้ซื้อยินดีจ่ายสำหรับสกุลเงินหนึ่ง ซึ่งเป็นราคาที่ผู้ดูแลสภาพคล่อง (Market Maker) เต็มใจที่จะซื้อสกุลเงินหลัก (ใช้ในการเปิดออเดอร์ Sell)
ราคาเสนอซื้อ (Ask Price): ราคาซื้อที่โบรกเกอร์เสนอให้เป็นราคาต่ำสุดที่ผู้ขายยินดีรับสำหรับสกุลเงินหนึ่ง ซึ่งเป็นราคาที่ผู้ดูแลสภาพคล่อง (Market Maker) เต็มใจที่จะขายสกุลเงินหลัก (ใช้ในการเปิดออเดอร์ Buy)
สเปรด (Spread): สเปรดคือความแตกต่างระหว่างราคาเสนอซื้อและราคาเสนอขาย มันคือต้นทุนการเทรดในตลาด forex และมักจะมีหน่วยวัดเป็นจุด (Pip)
จุด (Pip): จุดคือหน่วยการเคลื่อนไหวของราคาที่เล็กที่สุดในตลาด forex มันคือทศนิยมตำแหน่งสุดท้ายในอัตราแลกเปลี่ยนของคู่สกุลเงิน
เลเวอเรจ (Leverage): เลเวอเรจของ forex หมายถึงการใช้เงินทุนที่ยืมมาเพื่อเพิ่มผลตอบแทนที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการยืมเงินจากโบรกเกอร์เพื่อทำการออกสถานะการซื้อขายที่มีขนาดใหญ่กว่าขนาดที่เทรดได้ด้วยเงินทุนส่วนตัวของเทรดเดอร์
แนวคิดเรื่องเลเวอเรจของ forex ขึ้นอยู่กับแนวคิดที่ว่าเทรดเดอร์สามารถเพิ่มผลกำไรที่อาจเกิดขึ้นได้โดยการขยายขนาดของออเดอร์ (Position Sizing) โดยใช้เงินที่ยืมมา เลเวอเรจช่วยให้เทรดเดอร์สามารถควบคุมสกุลเงินในจำนวนมากขึ้นด้วยเงินทุนจำนวนค่อนข้างน้อยของตนเอง
ในขณะที่เลเวอเรจของ forex สามารถเพิ่มผลกำไรที่อาจเกิดขึ้น แต่ยังสามารถเพิ่มการขาดทุนที่อาจเกิดขึ้นด้วย ดังนั้น เทรดเดอร์ต้องใช้ความระมัดระวังเมื่อใช้เลเวอเรจ และตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีกลยุทธ์การจัดการความเสี่ยงที่ดี
หลักประกัน (Margin): หลักประกันคือจำนวนเงินที่เทรดเดอร์ต้องมีในบัญชีเพื่อเปิดและรักษาสถานะออเดอร์ในตลาด forex
สถานะซื้อ (Long Position): สถานะซื้อคือการเทรดที่เทรดเดอร์ซื้อ (Buy) สกุลเงินด้วยความคาดหวังว่ามูลค่าของมันจะเพิ่มขึ้น
สถานะขาย (Short Position): สถานะขายคือการเทรดที่เทรดเดอร์ขาย (Sell) สกุลเงินด้วยความคาดหวังว่ามูลค่าของมันจะลดลง
ธนาคารกลาง (Central Bank): ธนาคารกลางเป็นสถาบันของรัฐบาลที่รับผิดชอบนโยบายการเงินและการออกสกุลเงิน ธนาคารกลางมีบทบาทสำคัญในตลาด forex เนื่องจากการตัดสินใจนโยบายการเงินและการแทรกแซงสกุลเงินสามารถส่งผลต่ออัตราแลกเปลี่ยน
ตัวอย่างการเทรดสกุลเงิน
นี่คือตัวอย่างการเทรดสกุลเงิน ทั้งในด้านการขาดทุนและกำไร:
สมมติว่า จอห์นเป็นนักลงทุนที่ต้องการเทรดในตลาดสกุลเงิน เขามีเงิน 100,000 ดอลลาร์สหรัฐและเขาต้องการแปลงเป็นเงินยูโร (EUR) อัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบันระหว่างดอลลาร์สหรัฐ (USD) และยูโร (EUR) คือ 1 USD = 0.8 EUR จอห์นใช้เงิน 100,000 ดอลลาร์สหรัฐซื้อเงิน 80,000 ยูโร
ไม่กี่วันต่อมา อัตราแลกเปลี่ยนเปลี่ยนเป็น 1 USD = 0.7 EUR จอห์นตัดสินใจแลกเเงินยูโรกลับเป็นดอลลาร์สหรัฐ เขาขาย 80,000 ยูโรเป็นเงิน 56,000 ดอลลาร์สหรัฐ ในสถานการณ์นี้ จอห์นขาดทุน 44,000 ดอลลาร์สหรัฐเนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนเคลื่อนไหวสวนทางกับเขา
ในทางกลับกัน สมมติว่าจอห์นซื้อเงิน 80,000 ยูโร ที่อัตราแลกเปลี่ยน 1 USD = 0.7 EUR และต่อมาอัตราแลกเปลี่ยนเปลี่ยนเป็น 1 USD = 0.8 EUR จอห์นตัดสินใจแลกเเงินยูโรกลับเป็นดอลลาร์สหรัฐ เขาขาย 80,000 ยูโรเป็นเงิน 64,000 ดอลลาร์สหรัฐ ในสถานการณ์สมมตินี้ จอห์นทำกำไรได้ 16,000 ดอลลาร์สหรัฐเนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนขยับไปในทางที่เขาได้คาดการณ์ไว้
ตัวอย่างนี้แสดงให้เห็นว่าความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนอาจส่งผลให้เกิดการขาดทุนหรือกำไรในการเทรดสกุลเงินได้อย่างไร สิ่งสำคัญสำหรับเทรดเดอร์คือ การรับทราบสภาวะตลาดและเข้าใจปัจจัยที่ส่งผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนเพื่อทำการตัดสินใจอย่างชาญฉลาด
ประโยชน์ของการเทรดฟอเร็กซ์คืออะไร
การเทรด forex ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เนื่องจากมีข้อได้เปรียบหลายประการ ซึ่งประกอบไปด้วย:
สภาพคล่องสูง (High Liquidity): ตลาด forex เป็นตลาดการเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีปริมาณการเทรดต่อวันมากกว่า 6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ สภาพคล่องที่สูงนี้ทำให้มั่นใจได้ว่าเทรดเดอร์สามารถซื้อหรือขายคู่สกุลเงินได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องกังวลว่าราคาจะคลาดเคลื่อน
การเทรดได้ตลอดเวลา (24/7 Trading): ตลาด forex ดำเนินการตลอด 24 ชั่วโมง 5 วันต่อสัปดาห์ ซึ่งช่วยให้เทรดเดอร์ทำการซื้อขายได้ทุกเมื่อที่ต้องการ โดยไม่คำนึงถึงสถานที่หรือเขตเวลา (Time Zone) ของพวกเขา
ความเข้าถึงได้ (Accessibility): ปัจจุบันผู้คนจำนวนมากเข้าถึงการเทรด forex ได้เนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ต ทุกคนเริ่มเทรด forex จากที่บ้านได้อย่างสะดวกสบายด้วยการเชื่อมต่อสัญญาณอินเทอร์เน็ตและบัญชีเทรด
เลเวอเรจ (Leverage): เลเวอเรจมีประโยชน์กับเทรดเดอร์ forex เพราะมันช่วยให้พวกเขาเพิ่มผลกำไรที่อาจเกิดขึ้นได้ด้วยการลงทุนเพียงเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือต้องทราบว่าเลเวอเรจสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการขาดทุนได้ เนื่องจากการขาดทุนจะเพิ่มขนาดตามสัดส่วนของปริมาณเลเวอเรจที่ใช้
ดังนั้น เทรดเดอร์ควรใช้เลเวอเรจด้วยความระมัดระวัง และตรวจสอบยืนยันว่าพวกเขามีความเข้าใจที่ชัดเจนถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง เราแนะนำให้ใช้กลยุทธ์การจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสม เช่น การตั้งคำสั่งหยุดการขาดทุน (Stop Loss)
ต้นทุนต่ำ (Low Cost): การเทรด forex มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับการลงทุนรูปแบบอื่นๆ โบรกเกอร์ forex ส่วนใหญ่ไม่เรียกเก็บค่านายหน้า และค่าสเปรด (ส่วนต่างระหว่างราคาเสนอซื้อและราคาเสนอขาย) มักจะน้อยมาก
การกระจายความเสี่ยง (Diversification): การเทรด forex มอบโอกาสในการกระจายพอร์ตการลงทุนของคุณ เทรดเดอร์สามารถลดความเสี่ยงโดยรวมได้ด้วยการเทรดคู่สกุลเงินที่แตกต่างกัน
ความผันผวน (Volatility): ตลาด forex มีความผันผวนสูง ซึ่งอาจนำไปสู่การเคลื่อนไหวของราคาอย่างมีนัยสำคัญในช่วงเวลาสั้นๆ นี่เป็นโอกาสที่เพียงพอให้เทรดเดอร์ทำกำไร แต่อาจมีความเสี่ยงที่จะขาดทุนจำนวนมากได้เช่นกัน
การเทรด forex มอบข้อได้เปรียบมากมายให้ผู้ที่ยินดีสละเวลาและความพยายามในการเรียนรู้เกี่ยวกับตลาด อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือต้องจำไว้ว่า การเทรด forex มีความเสี่ยง และต้องดำเนินการด้วยความระมัดระวังและเข้าใจถึงตลาดเชิงพลวัตรอย่างถ่องแท้
ความเสี่ยงในการเทรด forex
การเทรด forex เหมือนกับการลงทุนทางการเงินประเภทอื่นๆ ที่มีความเสี่ยงที่เทรดเดอร์ควรทราบก่อนทำการเทรดอยู่หลายรูปแบบ ความเสี่ยงหลักๆ บางประการที่เกี่ยวข้องกับการเทรด forex ได้แก่
- ความผันผวนของตลาด: ตลาด forex มีความผันผวนสูง หมายความว่าอัตราแลกเปลี่ยนสามารถผันผวนอย่างรวดเร็วและคาดเดาไม่ได้ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการขาดทุนครั้งใหญ่ได้อย่างฉับพลันกับเทรดเดอร์ที่ไม่ได้เตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้
- เลเวอเรจ: การเทรด forex มักจะใช้เลเวอเรจ หมายความว่าเทรดเดอร์สามารถควบคุมสกุลเงินจำนวนมากได้ด้วยเงินทุนเพียงเล็กน้อย เลเวอเรจสามารถเพิ่มผลกำไรที่อาจเกิดขึ้นได้ แต่ยังไปเพิ่มขนาดการขาดทุนที่อาจเกิดขึ้นด้วยเช่นกัน
- ความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย: ความแตกต่างของอัตราดอกเบี้ยระหว่างสองประเทศอาจส่งผลต่อมูลค่าของสกุลเงินของทั้งสองประเทศ หากสกุลเงินหนึ่งมีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าอีกสกุลเงิน นักลงทุนจะสนใจสกุลเงินนั้น ทำให้มูลค่าของสกุลเงินนั้นสูงขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่น
- ความไม่มั่นคงทางการเมืองและเศรษฐกิจ: สถานการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจอาจส่งผลกระทบอย่างมากต่ออัตราแลกเปลี่ยน ตัวอย่างเช่น วิกฤตการณ์ทางการเมืองในประเทศหนึ่งสามารถทำให้มูลค่าสกุลเงินของประเทศนั้นลดลงอย่างรวดเร็ว
- ความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง: ตลาด forex มีสภาพคล่องสูง แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกสกุลเงินจะเทรดได้ง่ายเท่าๆ กัน บางสกุลเงินอาจมีการเทรดเพียงเล็กน้อย ทำให้ยากต่อการค้นหาผู้ซื้อหรือผู้ขายเมื่อคุณต้องการปิดสถานะ
- ความเสี่ยงด้านความสัมพันธ์ของสกุลเงิน: สกุลเงินมักจะสัมพันธ์กัน หมายความว่าสามารถเคลื่อนไหวควบคู่กันได้ ซึ่งสามารถสร้างความเสี่ยงให้กับเทรดเดอร์ที่ไม่ตระหนักถึงความสัมพันธ์เหล่านี้และผู้ที่ไม่ได้กระจายพอร์ตการลงทุนอย่างเหมาะสม
- ความเสี่ยงจากการฉ้อโกง: น่าเสียดายที่โบรกเกอร์หรือนักเทรด forex มีส่วนร่วมในกลฉ้อฉล เช่น “การสร้างความเคลื่อนไหวของราคาแบบหลอกๆ” หรือการปั่นราคา คุณควรเทรดกับโบรกเกอร์ที่มีชื่อเสียงและมีใบอนุญาต (Regulations) เท่านั้น
สิ่งสำคัญคือต้องจำไว้ว่าความเสี่ยงเหล่านี้ยังไม่ครอบคลุมทั้งหมด และเทรดเดอร์ควรพิจารณาความเสี่ยงที่ยอมรับได้และเป้าหมายการลงทุนอย่างรอบคอบก่อนที่จะทำการเทรด